การปฏิรูประบบราชการตามหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่

Main Article Content

ธนากร สุระขันธ์
ณัฐวุฒิ บุ้งจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการในการปฏิรูประบบราชการหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการในการปฏิรูประบบราชการกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยจำแนกข้าราชการตามระดับการศึกษาตำแหน่งงาน ระดับตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิรูประบบราชการที่มีผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มาจากข้าราชการ 19 หน่วยงาน จำนวน 2,482 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยการตอบแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลที่มีลักษณะคำถามแบบปลายปิด (Close-ended-Question) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิรูประบบราชการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นต่อการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการด้านการบริหารงานบุคคลมากที่สุดและมีความเห็นด้วยกับประเด็นการรับคนเข้ารับราชการมีขั้นตอนเหมาะสม ได้คนมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานจริง 2) หลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในภาพรวมระดับปานกลาง ด้านการปรับปรุงการเงินและบัญชีมากที่สุด และพบว่าระบบราชการมีสายการบังคับบัญชาหลายชั้นซ้ำซ้อน 3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นในการปฏิรูประบบราชการตามหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตำแหน่งงานไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิรูประบบราชการตามหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่

Reforming the Bureaucracy Based on the New Public Management

ABSTRACT The purposes of the research were to study levels of opinions of the Thai state officials on the reforming the bureaucracy based on the new public management and to compare the opinions of the state officials categorized by educational levels, positions, position levels, departments and working experiences and to find out relationships of the bureaucracy reform which effecting the new public management. The samples used in this study included 2,482 stateofficial working in 19 organizations. Questionnaires used as the tool for collecting data comprised close-ended question (Rating Scale). The statistics used in research for frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression. The result showed that: 1) The opinion of the most samples on the reforming the bureaucracy in the aspect of personnel management was found the most.  It was found that the suitable process of recruitment would lead to having potential state officials to work in the organizations. 2) The overall opinions of the samples on the new public management was at moderate level. The most opinions were on the improvement of finance and accounting.  It was also found that the bureaucracy contained complicate layers of commands.3) The results of the hypothesis testing revealed that an educational level, position level, department and  working experience were found related to opinions on reforming the bureaucracy based on the New Public Management while a position was not found related.

Article Details

Section
-