คำพิพากษา : กลวิธีการนำเสนอความขัดแย้ง

Main Article Content

สุริยา คำกุนะ

Abstract

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอความขัดแย้งของตัวละครในนวนิยายเรื่อง คำพิพากษา โดยศึกษาข้อมูลจากนวนิยายรางวัลซีไรท์ ประจำปี 2525 เรื่อง คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ  ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่อง คำพิพากษา ใช้กลวิธีในการนำเสนอปัญหาความขัดแย้งของตัวละครทั้งหมด 5 ประเด็นคือ 1. กลวิธีการนำเสนอผ่านโครงเรื่อง ผู้เขียนใช้เงื่อนไขทางสังคมคือการประพฤติผิดประเวณีเป็นปมความขัดแย้งระหว่างตัวละครเอกกับชาวบ้านจนทำให้ ฟัก ต้องถูกสังคมประณาม ดูถูกเหยียดหยามและต้องใช้ชีวิตเหมือนคนอนาถาไร้ญาติมิตรเป็นที่น่าเวทนา 2. กลวิธีการนำเสนอผ่านตัวละคร ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทและพฤติกรรมจากภาพลักษณ์ที่ดีเปลี่ยนเป็นคนไม่ดี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวละครดังกล่าวนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับผู้อื่นและสังคม 3. กลวิธีการนำเสนอผ่านบทสนทนา ผู้เขียนใช้บทสนทนาเล่าถึงพฤติกรรมการกระทำของตัวละครและลักษณะนิสัยของตัวละครรวมถึงบทสนทนาที่แสดงความดูหมิ่นเกลียดชังและในเชิงตำหนิต่อพฤติกรรมของตัวละคร 4. กลวิธีการนำเสนอผ่านแก่นเรื่อง ผู้เขียนแสดงแนวคิดเรื่อง กรรม ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ชีวิตของตัวละครคือ ฟัก ต้องประสบกับชะตากรรมที่น่าสงสารและสุดท้ายต้องเสียชีวิตอย่างอนาถาไร้คนสงสารและเห็นใจ 5. กลวิธีการนำเสนอผ่านน้ำเสียงของผู้แต่ง ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องเพศว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรแสดงออกในที่สาธารณะเพราะไม่เหมาะสมและการประพฤติผิดประเวณีก็เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ที่ลุ่มหลงในกามารมณ์มักเสื่อมจากทรัพย์สมบัติและเกียรติยศชื่อเสียง

Khampipaksa : Presentation Technique of Conflicts

ABSTRACT This paper aimed to study presentation Techniques on conflicts of characters in the novel  ‘Khampipaksa’ written by Chart Korbjitti, the S.E.A. Write Award Winner of  2525 (1982). Finding revealed that the author of novel ‘Khampipaksa’ used 5  presentation Techniques; 1) through plot by using social condition, sexual misconduct as the conflict between Fak, the character and villagers and this is conducive for being insulted by the society and  lives  I the helpless and miserable condition without relatives, 2) through characters by having characters change their role and behavior from positive to negative and this change leads to conflicts between character ,others and society, 3) through dialogues by using dialogues telling character’s acts and habits including dialogues that express invectives and hatred including blaming speech over character’s behavior,4) through themes using a concept of Karma as the cause in ruining Fak,the character to face with pathetic  fate and ultimately ends up with death in tragedy, and 5) through the writer’s tone that expresses about sex  that should not be acted in the public because it is inappropriate and sexual misconduct is disgusted behavior and those who indulge with sensual pleasure will be in ruin state from wealth, honor and fame.

Article Details

Section
-