ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม ในอาณาเขตทะเลไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในเขตทะเลของประเทศไทยซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ครอบคลุมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีขอบเขตการบังคับใช้บริเวณที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขตของประเทศไทยเท่านั้น ส่วนเขตพื้นที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีป ซึ่งเป็นอาณาเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยตามอนุสัญญากรุงเจนิวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่จะต้องมีผลผูกพันตามพันธกรณีใน การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตท้องทะเล เมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไม่อาจจะใช้บังคับได้แล้วย่อมทำให้เกิดปัญหาต่อการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่ไม่อาจจะส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีได้จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรเพิ่มนิยามศัพท์ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้ครอบคลุมทุกอาณาเขตของประเทศไทยที่ใช้ประโยชน์ได้และมีอำนาจอธิปไตยเหนือเขตพื้นที่ทางทะเลและให้แก้ไขมาตรา 96 ให้ครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันโดยเพิ่มคำว่า “อาจก่อให้เกิด” และให้เพิ่มเติมคำว่า “สาธารณสมบัติของแผ่นดิน” ด้วย เพื่อให้เป็นคุ้มครองสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาคดีความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมในทะเลเนื่องจากเป็นความเสียหายของรัฐโดยตรง
Legal Problems and Obstracles on Enforcement of the Environmental Law in the Marine Zone
ABSTRACT This article aimed to study about enforcement of environment law in the sea of Thailand. The legal provisions do not cover sea environment problems. From the study, it was found that the National Environment Quality Promotion and Reservation Act, B.E. 2535 (1992) had the scope of enforcement in Thailand inner territorial waters and sea only. For other zones, whether in continuous zone, specific economic zone and continental shelf which is the zone that Thailand had sovereignty right Geneva Convention, RE: Law of the Sea, 1958 and the United Nations Convention on the Law of the Sea, 1982, to be binding under the obligation in promotion and maintenance of environment quality in the sea. When the National Environment Quality Promotion and Reservation Act, B.E. 2535 (1992) cannot be applicable, it will cause problems for enforcement of the law of Thailand which may not promote and protect environment under the obligation. From the study, it is recommended that there should be adding of definitions in the National Environment Quality Promotion and Reservation Act, B.E. 2535 (1992), so it covers every zone of Thailand which can be utilized and Thailand had sovereignty over marine areas. Section 96 should be amended to cover the protection measures, by adding the words: “it may cause” and adding the words: “national public property” so that the protection is to protect national public property. Administrative Court should have power to have trial on the cases of environment damage of the sea as it is the state damage directly.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย