ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคเหนือ

Main Article Content

สมชัย วงษ์นายะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผู้บริหารซึ่งประกอบด้วยความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ และมนุษยสัมพันธ์ ปัจจัยด้านความเป็นผู้ใฝ่รู้ และบรรยากาศองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ เพื่อศึกษาความพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านความเป็นผู้ใฝ่รู้ของอาจารย์ ด้านบรรยากาศองค์การกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยลัยราชภัฏเขตภาคเหนือและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตภาคเหนือ  8  แห่ง  จำนวน  400  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ   และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนืออยู่ในระดับปานกลาง

2. ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ และมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนืออยู่ในระดับปานกลาง ความเป็นผู้ใฝ่รู้ของอาจารย์อยู่ในระดับสูง ส่วนบรรยากาศองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านเดียวที่อยู่ในระดับสูง คือ ความชัดเจนของเป้าหมายและนโยบาย ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง

3. ตัวแปรพยากรณ์ย่อยทั้ง 16 ตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

4. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (X1), บรรยากาศองค์การในด้านความรับผิดชอบในงาน (X11), มาตรฐานในการปฏิบัติงาน  (X7), การสนับสนุนการปฏิบัติงาน (X14)ข้อตกลงเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ (X6),  และความเป็นผู้ใฝ่รู้ของอาจารย์ (X4) โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.50 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ  (Y) และคะแนนมาตรฐาน (Z) ได้ดังนี้

Y  = .363 +.256 (X1) +.170 (X11) +.129 (X7) +.115(X14) + .092(X6) + .089(X4)             

Z  = .366(Z1) + .183(Z11) + .160(Z7) + .140(Z14) + .125(Z6) + .088(Z4)

 

ABSTRACT

The purposes of this research are 1) to study the learning organization of Rajabhat Universities in the Northern Region, 2) to study the administrators’ factors, namely: transformational leadership, vision and human relations, the factor of learning aspirations of the faculty members, and the organizational atmosphere factor, 3) to study the relationships  between the administrators’ factors, the factor of learning aspiration of the faculty members, the organizational atmosphere factor and the learning organization of Rajabhat Universities in the Northern Region and 4) to study factor and the learning organization of Rajabhat Universities in the Northern  Region . The sample used in this research were 400 faculty members from 8 Rajabhat Universities in the Northern Region. The research instrument was a questionnaire. Mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, multiple correlation, and multiple regression analysis were used in data analysis.

The research findings were as follows:

1. The learning organization of  Rajabhat Universities in the Northern Region was at a moderate level.

2. The administrators’ factors, namely: transformational leadership, vision and human relations skills, were at a high level. The learning aspiration of the faculty members was at a high level. Overall organizational atmosphere was at a moderate level, except for the clarity of goals and policy was at a high level.

3. All 16 predictors had positive relations with the learning organization of Rajabhat Universities in the Northern Region at   .01 level of significance.

4. By using Stepwise Multiple Regression Analysis, Predictors that could predict the learning organization of Rajabhat Universities in the Northern Region depended of six factors : transformational leadership (X1), responsibility in working (X11), working standards (X7), working supportive (X14),  commitment (X6),  and the learning aspirations of the faculty members(X4). These prediction equators in raw score (Y) and standard score (Z) were as follows:

Y  = .363 +.256 (X1) +.170 (X11) +.129 (X7) +.115(X14) +.092(X6) + .089(X4)             

Z  = .366(Z1) + .183(Z11) + .160(Z7) + .140(Z14) + .125(Z6) + .088(Z4)

Article Details

Section
-