การศึกษาการผลิตสาโทกล้วยไข่

Main Article Content

บุณยกฤต รัตนพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ  

จากการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างข้าวเหนียวต่อกล้วยไข่ในการหมักสาโท โดยใช้ปริมาณข้าวเหนียว  80  ส่วนต่อปริมาณกล้วยไข่  20 ส่วน    ปริมาณข้าวเหนียว  60  ส่วนต่อปริมาณกล้วยไข่  40  ส่วน   ปริมาณข้าวเหนียว  50  ส่วนต่อปริมาณกล้วยไข่  50    และปริมาณ  ข้าวเหนียว  40  ส่วนต่อปริมาณกล้วยไข่  60  ส่วน  พบว่า สาโทที่ผลิตโดยใช้อัตราส่วนที่ระหว่าง     ข้าวเหนียวต่อกล้วยไข่ที่ 80 ส่วน ต่อปริมาณกล้วยไข่  20 ส่วน  จะได้สาโทกล้วยไข่ที่ผู้บริโภคชอบมากกว่าอัตราส่วนอื่นๆ  ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีดังนี้  ค่า  pH  3.28   ความเป็นกรด  1.02%  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้  18.97 °Brix  ปริมาณแอลกอฮอล์  9%   เมื่อศึกษาระยะเวลาใน  การหมักและปริมาณลูกแป้งที่เหมาะสมในการผลิตสาโทกล้วยไข่โดยใช้ระยะเวลาในการหมัก  10  และ 12 วัน   ใช้ปริมาณลูกแป้ง  0.5  1  และ 1.5%  พบว่าการใช้เวลาในการหมักสาโทกล้วยไข่และปริมาณลูกแป้งที่เหมาะสม คือ  10 วัน และ 0.5%  และจากการศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการทำให้สาโทกล้วยไข่ใสโดยใช้ไข่ขาวในการทำให้ใส   และใช้การกรองโดยผงถ่านเปรียบเทียบสาโทกล้วยไข่ที่ไม่ผ่านวิธีการทำให้ใส  พบว่าการกรองโดยใช้ผงถ่านจะทำให้สาโทกล้วยไข่มีความใสมากที่สุด

 

ABSTRACT

The result of a study on Sato fermentation with optimum ration between glutinous rice and small banana 80 : 20, 60 : 40, 50 : 50, and 40 : 60 was found that consumers prefer Sato produced by using ratio 80 : 20 to others, which consist of chemical ingredients namely, pH 3.28, acidity 1.20%, total soluble solid 18.97 °Brix , alcohol  9%. From a study on Sato fermentation spending 10 days with stater content 0.5  1 and 1.5% was found that 10 days fermentation with stater content 0.5% was optimum. And a study was also found that white egg and charcoal powder could filter Sato, but after comparison, charcoal powder is more effective to filter Sato.

Article Details

Section
-