การศึกษาหาปริมาณตะกั่วในสุรากลั่นพื้นบ้าน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วในสุรากลั่นพื้นบ้านจังหวัดตาก 6 ตัวอย่าง คือ สุรากลั่นพื้นบ้านของบ้านแม่กาษา บ้านน้ำดิบ บ้านโกกโก ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก สุรากลั่นพื้นบ้านของบ้านแม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก สุรากลั่นพื้นบ้านของบ้านแม่กุ ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยนำตัวอย่างมาเผา และย่อยสลายด้วยกรด จากนั้นนำไปวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วโดยใช้เทคนิคอะตอมมิก แอบซอฟชัน สเปกโตรโฟโตเมตรี พบว่า สุรากลั่นพื้นบ้าน ที่ผลิตจากแม่กาษา บ้านน้ำดิบ บ้านโกกโก บ้านแม่จะเรา บ้านแม่ระมาด และบ้านแม่กุ มีปริมาณตะกั่ว 0.21 , 0.19 , 0.20 , 0.22 , 0.18 , และ 0.18 ppm ตามลำดับ ซึ่ง ค่ามาตรฐานกำหนดให้ตะกั่วสามารถปนเปื้อนอยู่ในสุรากลั่นพื้นบ้านได้ไม่เกิน 0.10 ppm พบว่า สุรากลุ่มพื้นบ้านที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 6 แหล่ง มีปริมาณตะกั่วเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
ABSTRCT
The aims of this study were the determination of lead (Pb) contents in the local liquors from Banmaekasa Bannamdib Bangoggo T.Maekasa A.Maesod, Banmaedaroa T.Maejaroa A.Maeramat. Banmaeramat T.Maeramat T.Maejaroa A.Maeramat, Banmaeku T.Maeku A.Maesod. The samples were dried to be ash and then digested with acid. At last, determine lead contents by Atomic Absorption Spectrophotometry. It was found lead contents in the liquors from Banmaekasa Bannamdib Bangoggo Banmaejaroa Banmaeramat and Banmaeku were 0.21 , 0.19 , 0.20 , 0.22 , 0.18 and 0.18 ppm respectively. The lead content in the standard content that allowed 0.1 ppm, the lead content in all samples are over the standard criteria.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย