การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ชาดา กลิ่นเจริญ
วันวิสา เขียวอ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบลักษณะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1  สร้างประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคลื่น  จำนวน  5 หน่วยย่อย   คือ  หน่วยย่อยที่  1  การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของคลื่น หน่วยย่อยที่ 2  คลื่นในเส้นเชือก   หน่วยย่อยที่  3  คลื่นผิวน้ำ  หน่วยย่อยที่ 4 การซ้อนทับของคลื่น หน่วยย่อยที่ 5  สมบัติของคลื่น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบฝึก และนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (\bar{X}

ขั้นตอนที่ 2  ทดลองใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยนำไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนทองแสนขันวิทยา ระดับมัธยมศึกษาปีที่  4  จำนวน  30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  การทดสอบที (t – test  dependent)

ผลการวิจัย พบว่า

1. แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 82.77/81.11

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

ABSTRACT

The objective of this research ware to construct the scientific process skill drills for fourth graders of secondary level, to compare the scientific process skill of the student before and after the drills and to compare the academic achievement of the student before and after employing the drills in learning process. The research was conducted into 2 steps.

Step 1 : To construct the scientific process skill drills divided into 5 drills concerning the nature of Wave in Physics subject. They were Simple Harmonic Motion of Wave, Standing Wave, surface water Wave, added Wave and Wave property. The suitability of the drills was examined by 5 experts in Physics teaching.

Step 2 : To experiment the scientific process skill drills with an experiment group of 30 students of the fourth grade secondary level at Thongsankun Secondary School. The statistics employed  t-dependent for the comparison of  knowledge of  Wave before and after using the drills in learning process.

Findings of the research were :

1. The construction of  the scientific  process  skill  drills was appropriated  and  the efficiency of  the drills was  82.11/81.11.

2. The students  ‘scientific  process  skill  was  higher  after  using  the  drills in learning process  than before using the drills, significantly at .01 level of significance. Also, the academic achievement  of  the  post – test  was  higher  than  the  pre – test,  significantly at .01  level  of significance.

Key Word : Scientific process skill drill

Article Details

Section
-