จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2492 – 2546
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนในประเทศไทยเพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบ และกลวิธีของผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคน อันเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศึกษาและเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนในประเทศไทย ซึ่งผลสรุปข้อมูลมีดังนี้
1. วิวัฒนาการจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2492-2546 แบ่งช่วงเวลาออกเป็น 5 ระยะ คือ
1.1 จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนยุคศิลปะสมัยใหม่และภาพเหมือนจริงในยุคศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พ.ศ. 2492 - 2501 เป็นช่วงที่มีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นครั้งแรก และศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้นำความรู้จากการศึกษาต่อต่างประเทศมาเผยแพร่ในลักษณะงานศิลปะสมัยใหม่
1.2 จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนยุคอิทธิพลศิลปะตะวันตก พ.ศ.2502 – 2511 เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงร่วมแสดงงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนและภาพเหมือนบุคคลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และในช่วงดังกล่าวศิลปินที่จบจากอเมริกา ได้นำศิลปะสมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่
1.3 จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนยุคศิลปะเพื่อศิลปะและศิลปะเพื่อชีวิต พ.ศ. 2512 ถึง2522 เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้มีผลกระทบต่อการสร้างสรรค์ศิลปะสองแนวทาง คือ ศิลปะเพื่อศิลปะ และศิลปะเพื่อชีวิต ตามวิถีทางสภาพสังคม
1.4 จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนยุคศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2523 - 2531 อันเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศที่เติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จึงทำให้เกิดแนวคิดทางศิลปะอย่างหลากหลาย
1.5 จิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนยุคโลกศิลปะไร้พรมแดน พ.ศ. 2532 - 2546 จากเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ล่มสลายเพราะความผิดพลาดกับการก้าวไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีสารสนเทศติดต่อกันอย่างทั่วถึง ทำให้ศิลปินมีแนวคิดการสร้างสรรค์งานศิลปะหลายกระบวนแบบศิลปะ
2. วิเคราะห์กระบวนแบบศิลปะจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนในประเทศไทย พ.ศ. 2492-2546 จำแนกออกได้ดังนี้
2.1 เนื้อหาที่ปรากฏในผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนและศิลปินนิยมสร้างสรรค์มากที่สุด โดยเรียงลำดับ ได้แก่ เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับภาพเปลือย เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับจินตนาการโดยสร้างให้ชัดเจนและคลุมเครือ เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อมนุษย์ และเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
2.2 รูปแบบที่ปรากฏในผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนและศิลปินนิยมสร้างสรรค์มากที่สุด โดยเรียงลำดับ ได้แก่ รูปแบบแสดงความแน่ชัดของวัตถุ และรูปแบบแสดงอารมณ์
2.3 เทคนิคที่ปรากฏในผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันภาพคนและศิลปินนิยมสร้างสรรค์มากที่สุดโดยเรียงลำดับ ได้แก่ เทคนิคการแสดงผิวหยาบ และเทคนิคแสดงความเรียบร้อย
ABSTRACT
The purposes of this research is to study the development of Figurative Oil Painting in Thailand between 1949 –2004, and to study the content, form and technique of Figurative Oil Painting.
1. The development of Figurative oil Painting in Thailand between 1949 –2004 was divided into 5 periods as follow :
1.1 Figurative Oil Painting in Modern art and realism period between 1949 – 1958, during the first National Exhibition was held of art, when students of Professor Silpa Bhirasri took the knowledge from abroad to spread in Thai modern art.
1.2 Figurative Oil Painting with influence from Western Art period between 1952 – 1968, the period of King Rama IX who participated in The National Exhibition of Art. The influence of Artists from America spread more and more.
1.3 Figurative Oil Painting in Art period for art and art‘s for life’s sake between 1969 – 1979. It’s the period of political change Technique which had the effect to effect art in two ways: art for art and art for life according to the social context.
1.4 Figurative Oil Painting between 1979 – 1988 The period of country’s development and growth in economic, social, and political growth , as reflected in the way of thinking in the various forms.
1.5 Figurative Oil Painting in Globalization period between 1989 - 2004. Form the bubble economic That failed due to mistaken ways of the industrialized countries until globalization in which information connects and makes artists have creative art works in many art styles.
2. Analysis of the art style in Figurative Oil Painting in Thailand between 1949 –2004, divided into :
2.1 The content of Figurative Oil Painting and Creative Artists, such as people and environment, the nude and clearing and not clearing, the beliefs of man, and history and imagination.
2.2 Form in Figurative Oil Painting in which the artist loves to create and order in form that shows Objective Accuracy and Form of Emotion.
2.3 Technique that appears in Figurative Oil Painting in which the artists loves to create, using techniques and texture and blending, for example.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย