การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้แกะสลักโซฟามังกรบ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไม้แกะสลัก โซฟามังกร โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและความเป็นมาของ ไม้แกะสลักโซฟามังกร 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไม้แกะสลักโซฟามังกร 3) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไม้แกะสลักโซฟามังกร 4) เพื่อศึกษาพัฒนาการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไม้แกะสลักโซฟามังกร ขอบเขตของ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไม้แกะสลักโซฟามังกร หมู่ 9 บ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อหาแนวทาง พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยความร่วมมือระหว่างชาวบ้านในหมู่บ้านบ้านคลองเตย ช่างแกะสลัก ผู้รู้ ผู้นำชุมชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 28 คน เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และสังเกตแบบมี ส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Excel ช่วยในการจัดเรียงข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาจาก คำหลักและให้ความหมายโดยการพรรณนาและเปรียบเทียบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลผลของการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทชุมชนพบว่า บ้านคลองเตยเป็นหมู่บ้านที่มีราษฎร อาศัยอยู่อย่างหลากหลาย นอกจากจะเป็นคนพื้นบ้านดั้งเดิมแล้วยังมีบุคคลหลายกลุ่มได้อพยพเข้ามา เพื่อทำมาหากินได้แก่ ชาวไทยทรงดำ ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า ชาวไทยอีสาน เป็นต้น สภาพภูมิประเทศ ของหมู่บ้านมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการประกอบอาชีพของชาวบ้าน เช่น มีแหล่งน้ำและแหล่งไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านเวลาว่างงาน ส่วนใหญ่จะทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น หัตถกรรม เครื่องเงิน หัตถกรรมด้านการทำโซฟามังกร และการตัดเย็บเครื่องนอน และชาวบ้านมีรายได้ จากการทำโซฟามังกรตัวละ 6,500-8,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้ที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างไม่ ขัดสน ทำให้ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กรเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพขึ้นมา ซึ่ง ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านโซฟามังกรก็เป็นการรวมกลุ่มของช่างแกะสลักเพื่อการพัฒนา และส่งเสริม การผลิตโซฟามังกรมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนความเป็นมาของการแกะสลักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าในอดีตจะผลิตเก้าอี้เพื่อใช้ในครัวเรือนโดยใช้รากไม้เป็นวัตถุดิบในการแกะสลัก ชนิดของ ไม้คือ ไม้มะค่า รูปทรงส่วนใหญ่เป็นเก้าอี้ ลวดลายและการออกแบบจะเน้นความเป็นธรรมชาติ ใช้ขวานเป็นเครื่องมือหลักในการแกะสลัก ลักษณะของผลงานไม่ประณีต ปัจจุบันผลิตเก้าอี้เป็น สินค้าเพื่อสร้างรายได้เสริมกับครอบครัว ใช้ส่วนของลำต้นเป็นวัตถุดิบ ไม้มีหลายประเภทที่หาได้ง่าย ตามท้องถิ่น รูปทรงมีขนาดใหญ่เน้นเป็นโซฟามังกรอย่างเดียว ลวดลายและการออกแบบขึ้นอยู่กับ จินตนาการของผู้ผลิตมีทั้งมังกรคู่และมังกรเดี่ยว ชิ้นงานมีความประณีต อ่อนช้อย กลมกลืน และสวยงามมากกว่าอดีต และเกิดการรวมกลุ่มของผู้ผลิตในรูปของศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน 2) องค์ความรู้พบว่า การแกะสลักโซฟามังกรได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี ส่วนใหญ่จะทำกันภายในครัวเรือนประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ทุกครัวเรือนจะต้องมารวมตัวกันทำ ที่ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านหมู่ 9 เท่านั้น เพื่อทุกคนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ช่างแกะสลักทุกคนต่างมีประสบการณ์และความชำนาญในการจัดแกะสลักโซฟามังกร ได้เองทุกขั้นตอน สามารถประกอบเป็นรูปทรงและเก็บรายละเอียดของชิ้นงาน พร้อมทั้งดำเนินการ ติดต่อกับลูกค้าหรือพ่อค้าคนกลางได้ ปัจจุบันมีสมาชิกในการแกะสลัก 22 ครัวเรือน ช่างแกะสลัก มีทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 30-55 ปี อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ทุกครัวเรือนจะมี เครื่องมือสำหรับการแกะสลักครบทุกชิ้น ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักพบว่า เครื่องมือหลักที่ สำคัญคือ สิ่ว เลื่อยยนต์หรือบาร์ เครื่องขัด กระดาษทราย กบไฟฟ้า และกาว ขั้นตอน การแกะสลักของช่างแต่ละคนจะมี 9 ขั้นตอน ได้แก่ การคัดเลือกไม้ การตัดไม้ การปรับพื้นไม้ การออกแบบ ลวดลายและโคร่งร่างมังกร การแกะสลัก การตกแต่ง การประกอบชิ้นส่วนของโซฟา มังกร การเก็บรายละเอียดของชิ้นงาน การตกแต่งและทาสี เทคนิคพิเศษของการแกะสลักคือ การใช้สิ่วแนวนอนจะทำให้ลวดลายมีความอ่อนช้อย งดงาม ใช้สิ่วแบบตั้งฉากจะทำให้ลวดลาย คมชัด และร่องลึก ความแตกต่างของชิ้นงานขึ้นอยู่กับประสบการณ์และจินตนาการของช่าง วัตถุดิบ ที่ใช้ในการแกะสลักเป็นวัตถุดิบที่ช่างแต่ละคนจะต้องจัดหามาเองจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นไม้ ยืนต้นที่หาได้ง่ายและมีในท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นไม้มงคล ระยะเวลาในการแกะสลักพบว่า ช่าง 83 แต่ละคนจะใช้เวลาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ ส่วนใหญ่ใช้เวลา 7-8 วัน ขนาดของชิ้นงาน จะกำหนดขนาดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกตัวคือ ขนาดกว้าง 35-40 นิ้ว ยาว 2.10 เมตร ความหนา 7-8 นิ้ว 3) กระบวนการถ่ายทอดความรู้ กลุ่มผู้รับการถ่ายทอดได้แก่ ญาติ พี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้เคียงและขยายผลไปยังนักเรียนในชุมชน รูปแบบการถ่ายทอดคือ สาธิต จัดอบรม ปฏิบัติจริงแบบตัวต่อตัว เรียนรู้โดยการสังเกต และจัดเนื้อหาเข้าไปในหลักสูตรการงาน พื้นฐานอาชีพสำหรับสอนนักเรียน มีการรวมกลุ่มของผู้รู้ในการแกะสลักโซฟามังกรที่ศูนย์ หัตถกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นแหล่งความรู้สำหรับการศึกษาดูงานแก่คนที่สนใจทั่วไป วิธีการ ถ่ายทอดคือ สอนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการ และให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอนจนเกิด ความชำนาญ 4) การจัดการความรู้พบว่า มีการสร้างองค์ความรู้โดยความร่วมมือของชาวบ้านคือ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อรวมกลุ่มผู้ผลิตด้านไม้แกะสลักโซฟามังกร มีการประมวล และพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยการศึกษาดูงานการแกะสลักในจังหวัดต่าง ๆ นำความรู้ที่ได้ มาถ่ายทอดให้กับช่างแกะสลักด้วยกัน เพื่อการพัฒนาชิ้นงานของตนเองให้มีความแปลกใหม่อยู่ ตลอดเวลาเป็นการเพิ่มมูลค่าและความโดดเด่นให้กับชิ้นงานเช่น มีมังกรคาบแก้ว มังกรถือ ถุงเงินถุงทอง มังกรยิ้ม มังกรดุ เป็นต้น และชุมชนมีการจัดเก็บความรู้ในรูปแฟ้มข้อมูล แฟ้มภาพ แผ่นพับ และต้องการจัดเก็บข้อมูลในรูปของฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นและแสดงผลข้อมูลได้ ตามที่ต้องการ (อยู่ในระหว่างการดำเนินการ) ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ศูนย์ข้อมูลหมู่บ้าน และผู้วิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้โดยการจัดทำ VCD ขั้นตอน การแกะสลักอย่างละเอียด พร้อมทั้งจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อให้ชุมชนได้จัดเก็บและเผยแพร่ให้กับบุคคล ที่สนใจทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนมีความต้องการดังนี้ 1) ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาอบรมให้ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าของการผลิต เช่น อบรมการฝังมุกในตัวมังกร เพื่อจะได้ราคา สูงขึ้นและให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการผลิต 2) ชุมชนต้องการอนุรักษ์ความรู้ในการแกะสลัก โซฟามังกรให้เป็นเอกลักษณ์ของบ้านคลองเตย และถ่ายทอดให้กับกลุ่มคนที่สนใจ และ 3) ต้องการ พัฒนาฐานข้อมูลให้สามารถจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลตามที่ต้องการได้
ABSTRACT
This study aimed to aspects of knowledge management on local wisdom of wood Carving MonkGon Sofa. The objectives of this study were. 1) The original and development of wood carving MonkGon Sofa 2) The knowledge base on local wisdom of wood carving MonkGon Sofa 3) Knowledge base Transfer on local wisdom of wood carving MonkGon Sofa 4) The Knowledge management on local wisdom of wood carving MonkGon Sofa. This research 84 is qualitative research in Moo 9 BanKhlongTeuy Khlong Lan Patthana sub-district , Khlong Lan district, Kamphaeng Phet. Cooperative Learning 28 between the people of local, carver, key informants, leader local and Kamphaeng Phet Rajabhat University. Data Collecting was in-depth interview, focus group, participant observation. Sorting data by Microsoft Excel and analyzed to the topic of study and presented in descriptive analysis form.
The findings were as follows: 1) ) The original and development of wood carving MonkGon Sofa :In the past people of local made wood carving is a chair in used family; raw material: wood roots; wood type: Ormosia wood; figure: chair; model: to clinch naturalistic ; Material: hatchet ; products: don’t elaborate. The present, made wood carving is goods for revenue in family ; raw material: the trunk of a tree ; wood type: many type in local ; figure: MonkGon Sofa only ; model: one and single MonkGon from imagination of carver ; products: beautiful, elaborate more than the past. And increased cooperation carver to development at Manufacture Local Center 2) The knowledge base on local wisdom : important material was chisels, bar or saws, robot welding machine, abrasive paper, power planer and glue. 9 steps of wood carving was select wood, smoothly wood, cut to wood, design, carving, decoration, composite MonkGon Sofa, in keeping of product, decorating and color. Special techincal of used chisels in horizontal to bring about softly product and vertically to sharpness. 3) Knowledge base Transfer to kins, neighbor and student in local. Format of transfer was demonstrate, training, practice, learning of observation, contents to curriculum for teach student, cooperation carver Monk Gon Sofa in Manufacture Local Center for education. The methods transmission knowledge of teach oral and practice every steps to skillful. 4) The Knowledge management on local wisdom : Local increased cooperation carver MonkGon Sofa in Manufacture Local Center, development knowledge to continue by make tour inspection of wood carving in many province. The Knowledge management of local in computer file, picture file, Brochure and keep to database for retrieval and display (between proceeding) at Local Center . Researcher was produce VCD and books about wood carving MonkGon Sofa for keep and to disseminate. Discovery in research local wanted: 1) Carver receives support from concern organization in training knowledge about value added to products. 2) To conserve knowledge wood carving MonkGon Sofa and Transmission for interested people. 3) Development databases for retrieval.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย