การศึกษาการนำผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

บังอร เลิศสกุลจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการนำพืชผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร ภายใต้กรอบ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาบริบทการนำผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

2.เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญจากชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อการนำผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

โดยวิธีการศึกษาเชิงสำรวจ พื้นที่ศึกษาคือชุมชนบ้านไร่พิจิตร หมู่ที่ 15 ตำบลโกสัมพี กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการศึกษาใช้วิธีการสำรวจชุมชนด้วยแบบสำรวจ การสังเกต และใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์จากประชากรตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนทั้งหมด 86 คน จาก 86 ครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการนำพืชผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตรมีรูปแบบเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่อาศัยธรรมชาติที่เหมาะสมเป็นแหล่งผลิตและเพื่อใช้ในการบริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ พืชผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านไร่พิจิตรนำใช้ประโยชน์ สามารถจำแนกได้เป็น 36 วงศ์ 72 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์CUCURBITACEAE วงศ์ที่พบน้อยที่สุด คือวงศ์ COMPOSITAE ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ใบ และยอด ซึ่งผักพื้นบ้านเหล่านี้บางชนิด เช่น เห็ด หน่อไม้ จะมีรับประทานตามช่วงฤดูกาลเท่านั้น ผักพื้นบ้านที่ได้จากธรรมชาติ นิยมนำมาประกอบอาหารมากที่สุดคือ ผักหวานป่า หน่อไม้และเห็ด พืชผักพื้นบ้านที่สามารถนำมาทำยารักษาโรคตามความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านมี 24 ชนิด พืชผักพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร จำแนกตามวิธีรับประทานทำเป็นอาหารได้ 11 ประเภท การใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางอาหารต่อชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติแบบองค์รวมในชุมชน เกิดเป็นความมั่นคงทางวัฒนธรรมเป็นลักษณะรูปแบบสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอยู่ในชุมชน ปัจจัยสำคัญจากชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อการนำผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านไร่พิจิตร ที่สำคัญคือ ทำเลที่ตั้ง ผู้นำชุมชน กระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ลักษณะทางเศรษฐสังคมและวิถีชุมชน

 

ABSTRACT

The aims of the study of local vegetable usages in BanRaipichit under sufficient economic concept were

1. to study the context of local vegetable usages in BanRaipichit under sufficient economic concept.

2. to study the important factors from the community afffect on the local vegetable usage in BanRaipichit under sufficient economic concept . The studied area was BanRaipichit community M.15 T. Kosumpee Kamphaengphet The method of studying was community survey by using surveying pattern , observation and questionair. The population were all family leaders 86 families.

The study results : the patternes of local vegetable usages was the original economic system using the appropiate nature for the product source and consume as everyday life food. The local vegetables that used can be classified into 36 families 72 species. The most was CUCURBITACEAE family and the least was COMPOSITATE family. The part that maximum used was leaves and plumule. Some local vegetables such as fungi, bamboo offset were favorite for seasoning eating, but the most was sweet vegetable. Some local vegetables can be used as local wisdom medicine .

Usages ' of these vegetables caused the food stability and natural learning in community. The worried community caused cultural stability as sufficient economic in community. The important factor is the leader , learning process , socioeconmies and folkway of villager.

Article Details

Section
-