การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อหลักเกณฑ์และ วิธีการประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของ โรงเรียน
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในจังหวัดหนองคาย 602 คน ได้มา โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) และ เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นที่มีต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ ของผู้บริหาร สถานศึกษาและครูผู้สอนโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านเหมาะสมในระดับมาก
2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน อาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ ไม่แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนทุกขนาดเห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านเหมาะสมในระดับมาก
4. ผู้บริหารสถานศึกษาที่โรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์ และวิธีการ ประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่เห็นว่าเหมาะสมมากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง
5. ครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน อาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูผู้สอนโรงเรียน ขนาดกลางเห็นว่าเหมาะสมมากกว่าขนาดเล็ก
ABSTRACT
The research objectives were to study and compare the opinions of the administrators and teachers in different sizes of schools towards the criterion and procedure of the empirical evaluation for the instruction level III. The sample comprised of 602 administrators and teachers in Nongkhai, obtained through the stratified and ratio random sampling. The instruments used were questionnaires of rating scale type and the reliability was 0.98. The statistics employed were mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA, and Scheffe’s test. The results were as follows ;
1. The opinions towards the criterion and procedure of the empirical evaluation for the instruction level III of the administrators and the teachers in the overall perception and each aspect separately were at the high level of suitability.
2. The administrators and the teachers perceived the criterion and procedure of the empirical evaluation with no significant difference.
3. The administrators and the teachers in every size of schools perceived the criterion and procedure of the empirical evaluation teachers in the overall perception and each aspect separately at the high level of suitability.
4. The administrators in different sizes of school perceived the criterion and procedure of the empirical evaluation with the significant difference at the .01 level. The administrators in the small and large sizes of schools perceived the suitability of the criterion and procedure more than those in the medium sizes of schools.
5. The teachers in different school sizes perceived the criterion and procedure of the empirical evaluation with significant difference at the .05 level. The teachers in the medium sizes of schools perceived the suitability of the criterion and procedure more than those in the small sizes of schools.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย