การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s

Main Article Content

นารี สินแสง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนเวทีราษฎร์บำรุง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย จำนวน 23 คน ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติ มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที (t-test) ซึ่งคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 92.08/84.67 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) ด้านความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติ เท่ากับ 89.39/78.84 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75

2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 5 E’s มีคะแนนความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

 

ABSTRACT

The purposes of this research were (1) to investigate the efficiency of the science instructional activities using 5 E’s Learning Cycle Model; (2) to study science learning achievement of Matayomsuksa one students using 5 E’s Learning Cycle Model; and (3) to study the ability to make conceptual mapping of Mattayomsuksa one students using 5 E’s Learning Cycle Model.

The sample of this study consisted of 23 students studying in the first semerter of the academic year 2005 at Weteeratbumrung School, Phaorai District , Nongkhai Province chosen by cluster sampling. The researcher used one group pretest – posttest design. Instuments used in this research consisted of Model 5 E’s lesson plans , the science learning achievement test on “Life and Environment ” with the reliability index of 0.95 , the concept formation competence test with the reliability index of 0.94. Statistics used for data analysis included mean , standard deviation and t-test , using the program SPSS for Windows The research results can be summarized as follows.

1. The efficiency of the science instructional activities has the criteria relation between process and output (E1/E2) of 5 E’s Learning Cycle Model of 92.08/84.67 and 89.39/78.84 which was higher than the determined criteria of 75/75.

2. Posttest scores on science learning achievement on “Life and Environment ” of students were significantly higher than pretest scores at the .01 level.

3. Posttest scores on creating of the conceptual mapping on “Life and Environment ” were significantly higher than pretest scores at the .01 level.

Article Details

Section
-