การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะ การสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา

Main Article Content

บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 2)  เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา  มีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้

1.  การเตรียมการและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษประถมศึกษา  ผู้วิจัยได้พัฒนาหลักสูตรอบรมครูซึ่งประกอบด้วย  เนื้อหาและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอนเขียนกระบวนการฝึกอบรมด้วย   กระบวนการจัดการความรู้  เครื่องมือวัดและประเมินผลการฝึกอบรมได้แก่  แบบประเมินความสามารถในการสอนเขียนและแบบประเมินผลการฝึกอบรมนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมกับความตรงเชิงเนื้อหา  แล้วปรับปรุงเพื่อให้ครอบคลุมทั้งความถูกต้องและเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม

2.  การทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลหลักสูตร  ผู้วิจัยได้นำหลักสูตรไปใช้กับครูภาษาอังกฤษ  ปีการศึกษา  2549  ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างโดยความสมัครใจจำนวน  30  คน  (one  group  pretest – posttest  design)  โดยประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังฝึกอบรม  นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการประเมินก่อนและหลังฝึกอบรม  ด้วยค่า \bar{X} , S.D.  และ  t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1.  หลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น  มีความเหมาะสมทุกด้านได้แก่  ด้านเนื้อหามีความเหมาะสมระดับมาก  (\bar{X} = 4.45)  ด้านรูปแบบกระบวนการฝึกอบรมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด  (\bar{X} = 4.50)   และเครื่องมือวัดผลหลักสูตรประกอบด้วยแบบประเมินความสามารถใน การสอนเขียนมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด  (\bar{X} =  4.53)  และแบบประเมินผลการฝึกอบรมมีความเหมาะสมระดับมาก  (\bar{X} = 4.30)

2.  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนการประเมินความสามารถในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .001

 

Abstract

The  purposes  of  this research were  to  1)  develop  a  training  course  for  teachers  by knowledge management  process to enhance English writing teaching skill for primary education  level. 2) evaluate the use of a training course for teachers  by  knowledge  management  process  to  enhance English writing teaching  skill  for  primary education level.

The  study  was  done  as  follows :

1. develop  a  training  course  for  teachers  by  knowledge  management process to enhance  English writing  teaching skill  for  primary  education  which  was evaluated  in  terms of suitability and  content  validity by the experts. A  training course consisted  of  1)  content  and activities of English writing teaching 2) training process  was  a  methodology  of  knowledge  management  and 3) evaluation tools were English writing teaching evaluation form and  training  evaluation  form.  After  the  evaluation, training  course  was  revised  to  be  used  in  the  third  step

2.  try  out  the  trianing  course  the  30  voluntary  teachers  of  2006  academic  year  Kamphaeng  Phet  Province  were  to  try  out  the  training  course  (one  group  pretest – posttest  design).  The  procedures were pre – evaluation,  training  by  knowledge  management  process  and  post-evaluation  respectively.  The  data  was  analyze by , S.D. and t – test  for  effective  of  the  training  course  to  course  the  teachers’  ability  of  English writing   teaching skill  before  and  after  using  the  training  course.

Results

1.  The  findings  of  the  study  were : The  training  course  was  suitable  all  of  3  sections as follows : content was  high suitability level (\bar{X} = 4.45),  training  process was  highest suitability level  (\bar{X} = 4.50), and  two evaluation  tools were ; 1) English writing teaching evaluation  form  was  highest  suitability  level (\bar{X} = 4.53)  2) training evaluation  form  was  high  suitability  level  (\bar{X} = 4.30)

2. The 30 teachers  significantly get  higher  ability  after using  the  training  course  by  knowledge   management  process  at  the  .001  level.

Article Details

Section
-