การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสาธิตฯ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบ่งออกเป็นหน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วย 1) กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร 2) แหล่งที่ปลูก 3) การปลูกกล้วยไข่ 4) ช่วยกันดูแล 5) กล้วยไข่จานโปรด และ 6) ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็น แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีวิธีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่
ผลของการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ มีกระบวนการที่สำคัญได้แก่การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องนำมาสร้างหน่วยการเรียนรู้ และให้กรรมการ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความเหมาะสม ความสอดคล้องของจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และสอบถามความเหมาะสมของหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ จาก ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตฯ ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับกล้วยไข่ คณะครูโรงเรียนสาธิตฯ และผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นว่า เป็นหน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสมมากถึงมากที่สุด จากนั้นนำหน่วยการเรียนรู้ไปตรวจสอบหาประสิทธิภาพรายบุคคล 1 : 1 : 1 และกลุ่มเล็ก 3 : 3 : 3 เมื่อแก้ไขปรับปรุงแล้วนำไปตรวจสอบประสิทธิภาพกลุ่มใหญ่โดยผลการหาประสิทธิภาพ ของหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.26/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยหน่วย การเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purpose of this research were to 1) develop and find the efficiency of integrated instructional units of Kluai Khai for Prathomsuksa 2 students. 2) compare results of pre-post test on learning achievement by Prathomsuksa 2 students who were taught under integrated instructional units of Khuai Khai.
The sample of this study were specified on 30 Prathomsuksa 2/1 from Demonstrative school of Muang District, Kamphaeng Phet province during the second semester of academic year 2005. The research instruments were lesson plan : the integrated instruction unit of Kluai Khai for Prathomsuksa 2 students. There were 6 units of learning which were 1) Kamphaeng Phet Kluai Khai 2) Planting places 3) Kluai Khai planting 4) Take care of Kluai Khai 5) Favorite Kluai Khai food and 6) Sart Thai Kluai Khai Festival. And 30 items of multiple choices learning achievement test . There were 2 steps of study. The first step was developing and find the efficiency of integrated instructional units on Kluai Khai for Prathomsuksa 2 students. The second step was compare the results of pre-post test on learning achievement by Prathomsuksa 2 who were taught under integrated instructional units of Kluai Khai.
The research findings were as follows :
1. There were important process for developing integrated instructional units as shown below.
1.1 Study the theory and the documents to create the learning units
1.2 Let the adisors check the appropriate , the agreement of goals, contentsand activities.
2. Asking parents, demonstrated school boards, people who earn a living with Kluai Khai , demonstrated school teachers and experts about the appropriate of integrated units on Kluai Khai. All of the agreed with the appropriate of the units.
3. Finding the efficiency of learning unit by person and small group and then find the efficiency of Prathomsuksa 2 students which were 83.26/88.65 that were higher than the criteria of 80/80.
4. The post - test achievement of students taught by integrated instructional units of Kluai Khai was significantly level higher than pre - test at the .05 level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย