การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ : กรณีศึกษาการย้อมสี เส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ของชุมชนในเขตตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

พรเพ็ญ โชชัย
ระมัด โชชัย
เมทินี ทวีผล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทกระบวนการการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติของชุมชนและแหล่งวิชาการ สภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ การย้อมสีในระดับต้นแบบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติสู่ชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การสอบถามและสัมภาษณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ การวัดทางเคมี วัดค่าความยาวคลื่นที่ดูดกลืนมากที่สุดของสีน้ำย้อม การทดลองย้อมสีเส้นด้ายฝ้าย ในห้องปฏิบัติการวัดหาค่าเฉดสีในระบบCIELAB ศึกษาความพึงพอใจเฉดสีของเส้นด้ายที่ย้อมได้ ทดสอบความคงทนต่อการซักฟอกและแสง การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชนแล้วประเมินผลการอบรม

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการส่งเสริมอาชีพการย้อมสีผ้าที่เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และพัฒนาแบบครบวงจร กลุ่มทอผ้าไหมแก้วพัฒนา  มีการรวมกลุ่มทอผ้า มีการถ่ายทอดความรู้สืบต่อกัน มีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนา

2. สีน้ำย้อมที่สกัดได้ มีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วย แทนนิน สารประกอบฟีนอลิก และแอนทราควิโนนเป็นองค์ประกอบ แต่ไม่มีเฟลโวนอยด์   การดูดซับสีย้อมโดยเส้นด้ายฝ้าย ค่อนข้างต่ำ ค่าสีของเส้นด้ายฝ้ายหลังการย้อม เฉดสีไปทางสีน้ำตาลชมพู  เปลือกประดู่ มีเฉดสีไปทางสีน้ำตาล

3. การย้อมสีระดับต้นแบบ สีของต้นแบบทั้งหมดเหมือนกับการย้อมที่ทำการทดลอง การย้อมในห้องปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ทำการย้อมในอุตสาหกรรมครัวเรือนได้

4. การอบรมเชิงปฏิบัติการแก่สมาชิกกลุ่มทอผ้า ผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้าย, สีย้อมธรรมชาติ, สภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้าย, การย้อมสีในระดับต้นแบบ, การถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสี

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study the context of natural dyeing in community, the appropriate conditions for dyeing with natural dyes from coconut and pterocarpus, family dyeing process and transmit the dyeing technology to community. The methods of study were asked and interview the community leader, SWOT analysis, acidity and chemical composition of dyes, dyeing the cotton yams with various methods, study the dye adsorption, color value and tone in CIELAB system, evaluate the satisfaction on color, test the color stability on washing and irradiate, study the model of dyeing process for family industrial and transmit the dyeing technology to community by workshop.

The results of this study were

1.The community leader supported the natural dyeing process as OTOP. The members of community organized themselves to be cotton product group. The weakness were lacking of scientific process for developing the method of dyeing and pure material for dyeing.

2. The color of extracted dye from coconut was red – violet, the pterocarpus was orange – red, their acidity were acid, the chemical compositions were tannin, phenolic compounds and anthraquinone but not riboflavine. The dye adsorptivities were rather low. The color tone of dye on cotton yams  from coconut were brown – pink, from pterocarpus were brown.

3. The dyeing processes for family industrial were rather similar to the laboratory.

4. The evaluation of thinking of the workshop members for the processes of dyeing was in the highest level.

Article Details

Section
-