การจัดการความรู้ในองค์กรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ในองค์กรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการความรู้ในองค์กรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าสถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการความรู้ในองค์การสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ กระบวนการในการจัดการความรู้ ภาวะผู้นำขององค์กร เทคโนโลยีที่ใช้ในหน่วยงาน การสื่อสารภายในหน่วยงาน ความเชื่อค่านิยมวัฒนธรรมของหน่วยงาน ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติอันดับสุดท้ายคือการวัดผลการจัดการความรู้
2) องค์ประกอบที่ทำให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหาร มีส่วนสำคัญมากในการขับเคลื่อนองค์กรเพราะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรในการทำงานต้องรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แนะนำ เป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกันได้ การสื่อสาร ต้องพูดคุยกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร เทคโนโลยีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จ มีแผนการทำงานที่ชัดเจนปฏิบัติได้ รู้จักประเมินผลให้รู้จุดที่บกพร่อง เพื่อนำมาแก้ไขในครั้งต่อไป ในการสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ เลื่อนขั้น การบรรจุแต่งตั้งก็มีผลส่งให้บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การจัดการความรู้, สำนักงานอธิการบดี
Abstract
This research aimed 1) to study the status of knowledge management in organization of chancellor’s office of Sisaket Rajabhat University, 2) to study constitution of knowledge management in organization of chancellor’s office of Sisaket Rajabhat University. An example group used to research was 50 personnel of Sisaket Rajabhat University, tools used were questionnaire that developed. Data analysis used program, statistic value used was percentage, mean and standard deviation.
The research results were as follows.
1) The knowledge management had progressed in medium level which had descended from many number to few, that is, the process of knowledge management, leadership of organization, technology used for office, communication within organization and belief of cultural favorableness of organization. About side that progressed lastly was measure of knowledge management.
2) The constitution that made knowledge management to succeed in educational part was personnel support with budget, policy and clear planning including present information technology. Administrators must attempt to study more, to support, to assist with the four principles of virtuous existence and to be high responsible. For personnel of organization, they must be ready for changing, study new knowledge, atmosphere as democracy, realize their own role, develop themselves continuously, make a friendship with colleagues and understand knowledge management.
Key Words : Knowledge management, Office of Sisaket Rajabhat University
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย