ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงาน ของ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงาน ของ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 2 ) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยจำแนกตามประสบการณ์ทางการบริหาร และ วุฒิทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย( Mean ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( Correlation Analysis ) โดยวิธีการของ Pearson ทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ของ กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ t – test แบบ Independent และ F - test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเก่ง
1.1 ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านดี ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
1.2 ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านเก่ง ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
1.3 ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านสุข ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจในชีวิต
2. การศึกษาความสำเร็จในการทำงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับดังนี้ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง การตัดสินใจและการแก้ปัญหา ความภาคภูมิใจในตนเอง และความพึงพอใจในชีวิต
4. ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์ทางการบริหารต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
5. ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ : ความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงาน
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) Study the relationship between emotional quotient and work success of school administrators under the office of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1. 2) Compare the emotional quotient of school administrators under the office of educational service area of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1 classified by administrative experiences and educational qualifications. The sample consisted of 144 school administrators in schools under the office of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1 in academic year, 2006. The research instrument was a questionnaire. The data analysis was done by mean, standard deviation, correlation coefficient, independent, t - test and F - test
The research findings were as follows :
1. As a whole, the emotional quotient of schools administrators under the office of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1 was at a high level. However, intelligence aspect was the highest mean.
1.1 As a whole, the emotional quotient of schools administrators in good aspect was at a low level, whereas emotional and own needs controlling were at a high level.
1.2 As a whole, the emotional quotient of schools administrators in intelligence aspect was at a high level, and relationship was the highest mean.
1.3 As a whole, the emotional quotient of schools administrators in happy aspect was at a high level and life satisfaction was the highest mean.
2. As a whole, work success of school administrators under the office of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1 was at a high level.
3. The relation between emotional quotient and success of school administrators under the office of educational service area of kamphaeng Phet Zone 1 found out that emotional quotient affecting work success of school administrators was significant difference at .01 level. Which were relationship and emotional and own needs controlling whereas decision and problem solving, own pride and life satisfaction was significant difference at .05 level.
4. The comparison of emotional quotient of school administrators classified by administrative experiences the difference were not statistically significant.
5. The comparison of emotional quotient of school administrators classified by educational qualification the difference were not statistically significant.
KEYWORDS : EMOTIONAL QUOTIENT AND WORK SUCCESS
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย