การเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง
บุณยกฤต รัตนพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดในพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ใบยอ ผักหนาม ดอกแคฝอย ผักปลัง   ผักกูด ยอดฟักข้าว บอน ขจร และพันงู  โดยวิธีการใช้สาร Folin–Ciocalteu และศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชผักพื้นบ้าน โดยวิธีวัดค่าการดูดกลืนแสงของอนุมูลอิสระ 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และใช้ 3- tert-butyl-4-hydroxyanisole (BHA) เป็นสารละลายมาตรฐาน แล้วคำนวณเปอร์เซ็นต์การต้านอนุมูลอิสระ

ผลการศึกษาพบว่า  ยอดฟักข้าว  เป็นพืชผักที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุด คือ 21.02 มิลลิกรัม/กรัมพืชสด  รองลงมาเป็นใบยอและขจรซึ่งมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกเป็น  20.91มิลลิกรัม/กรัมพืชสด และ 16.75 มิลลิกรัม/กรัมพืชสดตามลำดับ ส่วนการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชผักพื้นบ้าน พบว่า บอน เป็นพืชผักที่มีประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เป็น 73.40 %  รองลงมาได้แก่ พันงู และใบยอ มีประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระเป็น  71.12 %  และ 69.01 % ตามลำดับ โดยสารละลายมาตรฐาน BHA มีประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระเป็น 97.07 % ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดจากบอน

คำสำคัญ : พืชผักพื้นบ้าน, สารประกอบฟีนอลิก, สารต้านอนุมูลอิสระ

 

ABSTRACT

Comparison  of  phenolic compounds content  and antioxidative potential of local plant extracts in Kamphaeng Phet  province. Morinda citrifolia Linn. , Lasia spinosa Linn. (Thw)., Dolichandrone serrulata (D.C.) Seem., Basella rubra Linn. (Syn.)., Diplazium esculentum (Retz.) Sw., Momordica cochinchinensis Spreng., Colocasia esculenta Schott., Telosma minor Craib. and Amorphophallus spp. were studied. The method  used for determination of  phenolic compounds was  Folin – Ciocalteu  reagent  and antioxidative potential was based on inhibition in absorption of 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH). 3- tert-butyl-4-hydroxyanisole (BHA) was used as standard inhibitor and antioxidative potential was measured  as percentage radical scavenging.

The results showed that most of phenolic compounds were 21.02  mg / g sample, 20.91 mg / g sample and 16.75 mg / g sample for the extracts of M.cochinchinensis Spreng., M.citrifolia Linn. And T.minor Craib. respectively. Comparison of  antioxidative potential showed  that  most  of antioxidative potential were 73.40%, 71.12% and 69.01% for the extracts of C. esculenta Schott., Amorphophallus spp. and M. citrifolia Linn. Respectively. And antioxidative potential of BHA  (97.07%) was more than the Colocasia esculenta Schott. (73.40 %).

Article Details

Section
-