ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ กรณีศึกษา: รายวิชาแนวโน้มคณิตศาสตร์ศึกษา (MATH302)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัย และศึกษาระดับของลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษา โดยประชากรเป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีทั้งแบบปรนัยและแบบอัตนัย และแบบวัดลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง จำนวน 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ และวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังจากเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยแล้ว นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาแนวโน้มคณิตศาสตร์ศึกษาเฉลี่ยเป็น 32.95 คะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็น 3.95 จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน
2. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาแนวโน้มคณิตศาสตร์ศึกษา หลังการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 25 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลแล้ว นักศึกษาทุกคนมีคะแนนรวมสูงกว่าเกณฑ์
3. ลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และในรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการมองอนาคตในแง่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการเปิดโอกาสที่จะเรียนรู้ และด้านความรักที่จะเรียนรู้
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้, วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA), การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ABSTRACT
The purposes of the research were: to study learning achievement of students by Research Base Learning (RBL), to study level of Self-Directed Learning of students. The population were 19 Mathematics’ students in faculty of Education. The research instrument were process in RBL program, Achievement Test and Self-Directed Learning Test include eight factors. The data were analyze by t-test, mean, and standard deviation.
Result of the study:
1. After students had studied Trend in Mathematics Education (MATH302) by RBL program. Their mean achievement score was 32.95 from 50 and standard deviation score was 3.95.
2. Achievement score of all students who had studied Trend in Mathematics Education (MATH302) by RBL program were higher than a criterion score (25) at .05 level of significant.
3. Self-Directed Learning mean of Mathematics’ students in faculty of Education were several. Eight factors of Self-Directed Learning of Mathematics’ students in faculty of Education were serials. The first 3rd ranks of students mean were: Positive Orientation to the Future, Openness to Learning Opportunities, and Love of Learning.
Key Word : Research Base Learning (RBL) program, PDCA, Self-Directed Learning
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย