ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาถึงส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้บริการและศึกษาถึงส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากสมาชิกที่เคยใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 ชุด
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 35 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา เป็นสมาชิกรายปีประเภทบุคคล โดยชำระค่าบริการด้วยเงินสด ราคาค่าสมาชิกต่ำกว่า 2,000 บาท วันที่ไปใช้บริการไม่แน่นอน ช่วงเวลาที่ใช้บริการเวลา 18.01 น. เป็นต้นไป ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 1 – 2 ชั่วโมง กีฬาที่ใช้บริการมากที่สุด คือ การออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลัง นิยมไปใช้บริการที่ฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่ตั้งเดี่ยวมากที่สุด เนื่องจากสะดวกในการเดินทาง สื่อที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามรู้จักฟิตเนสเซ็นเตอร์มากที่สุด ได้แก่ เพื่อน หรือ คนรู้จัก และมีความต้องการใช้บริการผู้ฝึกสอนส่วนตัว ส่วนใหญ่จะใช้บริการหลังเลิกจากการทำงาน
เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ไคร์สแควร์แล้วพบว่า ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้ บริการทดลองใช้ฟรีก่อนสมัครใช้บริการ การนำเอาผู้ใช้บริการแล้วได้ผลมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ และมีการปรับปรุงการส่งเสริมการตลาดใหม่ตลอด และปัจจัยหลักฐานทางกายภาพ ด้านมีการตกแต่งภายในที่สวยงาม มีผลต่อการตัดสินใจของผู้เล่นกีฬาประเภทต่างๆ ปัจจัยสถานที่ ด้านการตั้งอยู่ในสถานที่เดินทางสะดวก และมีตารางเวลาการออกกำลังกายที่หลากหลาย ปัจจัยบุคคลด้านพนักงานมีมนุษยสัมพันธ์ดี และปัจจัยกระบวนการ ด้านการใช้บริการสะดวก มีผลต่อการตัดสินใจในการไปใช้บริการในฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่ตั้งในทำเลต่างๆ ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ด้านความเพียงพอของเครื่องเล่น ปัจจัยสถานที่ ด้านการเดินทางไปใช้บริการสะดวก และสถานที่สะอาด และปัจจัยบุคคล ด้านครูฝึกที่ให้บริการมีความสามารถมีผลต่อการสมัครเป็นสมาชิกเมื่อทดสอบด้วยสถิติแกมม่า แล้วพบว่า ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด ด้านมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ และด้านมีการปรับปรุงการส่งเสริมการตลาดสม่ำเสมอมีผลต่อความถี่ในการไปใช้บริการ
คำสำคัญ : ฟิตเนสเซ็นเตอร์, ส่วนประสมการตลาดบริการ
ABSTRACT
The purpose of the study is to determine the behavior of fitness center members and service mix factors affecting the usage decision of fitness center in Bangkok. A survey is used as a data collection tool to gather opinion of 400 fitness members center in Bangkok.
The study found that most of respondents were single female , age between 20 -35 years , an educational level of bachelor degree . Their average income level per month was less than 10,000 baht and most of them were students and undergraduates.They were annual membership with cash payment. The average annual membership fees was less than 2,000 Baht. Members went to fitness center after 18.02 p.m. and spent 1 – 2 hours each time. The most favorite sport was having exercise by sports equipment. Stand alone fitness center was popular because of transportation convenience. The most accessible media to fitness members was friend. Personal Trainer was needed by the members. Most of them went to the fitness after work.
The analysis on Chi-Square found that promotion factors such as free-trial before a member , good presenter and new promotion every month and physical evidence factors such as beautiful interior design were affected to some type of sports such as Yoga , Weight-training and Others. Place factors such as located in convenient location and variety exercise schedule , people factor such as good relationship employees and process factor such as easy process were affected to the reason of usage .Product factor such as enough equipment , place factors such as located in convenient location and clean place and people factor such as good trainer were affected to membership. The analysis on Gamma found that promotion factors such as newspaper advertising and new promotion every month was affected to frequency of use.
Key words : Fitness Center, Service Mix Factor
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย