การคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศญี่ปุ่นด้านความปลอดภัยของอาหาร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ วิธีดำเนินการ และผลในทางปฏิบัติของภาครัฐทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชนของญี่ปุ่น ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยของอาหาร สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
ภาครัฐกำหนดกฎหมายและข้อบังคับหลายฉบับเพื่อใช้คุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิและพึ่งพาตนเองมากขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการควบคุมและตรวจสอบของรัฐโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีสินค้าอาหารที่ไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงทันทีต่อผู้บริโภคนั้นไม่เข้มงวดเพียงพอ ทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยของอาหารของญี่ปุ่น ยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในกรณีสินค้าอาหารที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผู้บริโภคนั้น ภาครัฐของญี่ปุ่นก็มีการตรวจสอบอย่างจริงจังและเข้มงวดอย่างมาก
สำหรับภาคเอกชน พบว่า สภาพเศรษฐกิจมีผลต่อระดับความรับผิดชอบของภาคเอกชนต่อผู้บริโภค ในช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภคอย่างมาก แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำลงพบว่า การดำเนินการของเอกชนส่วนใหญ่ เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้นมิได้มีบทบาทในเชิงรุกในการเป็นผู้สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ยิ่งกว่านั้นยังมีแนวโน้มที่จะกระทำผิดกฎหมายมากขึ้นอีกด้วย
ภาคประชาชนของญี่ปุ่น ได้แก่ ผู้บริโภคและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าหลังจากทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมมากขึ้นกว่าในอดีต ในกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยของอาหาร อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่และบทบาทยังไม่ชัดเจนและไม่อยู่ในระดับสูงเท่าที่ควร
อนึ่ง การศึกษาเรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศญี่ปุ่นด้านความปลอดภัยของอาหาร ในครั้งนี้ พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องต่อไปนี้
1. การตรวจสอบอย่างเข้มงวดสำหรับสินค้าอาหารที่จะนำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น
2. การเอาจริงเอาจังกับการควบคุมและตรวจสอบสินค้าอาหาร ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
3. การใช้คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าอาหาร
4. การกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในศตวรรษที่ 21 ของประเทศญี่ปุ่น
คำสำคัญ : อาหารปลอดภัย, คุ้มครองผู้บริโภค, ผู้บริโภค, ญี่ปุ่น
Abstract
This paper aiming to investigate role and operation including the operational outcomes of the state and local governments and private and civil citizens of Japan in the protective process of consumers in terms of food security. The result of the study is as follows.
Japanese government enacted a number of laws and regulations for protection of food consumers. They also launched a lot of campaigns to encourage the consumers to be aware of their own rights and to be self-independent. However, there had still been problems continuously occurring to the consumers. This might result from the control and inspection of the government. In particular, the control and inspection in the aspects thought not to be severe to the consumers were not strictly carried out. This resulted in ineffectiveness and in the protection of food consumers of Japan.
Regarding the private sectors, it was found that economic conditions influenced the responsibility level of the sectors for the consumers’ safety. Evidently, in the rise of economy, the companies were more responsible for society and consumers than when in the economy downturn. Mostly they just tried to abide by the laws instead of taking leading roles in creating means to protect food consumers. Also, it was likely that they breached the laws; this might derive from the need to reduce cost in their productions and lack of awareness of the manufacturers.
Japanese private sectors namely consumers and involved organizations were found to have role and participation more in than in the past in food safety protection later the 1990 years. However, function performance and the roles were not apparent and high enough.
In addition, the following aspects related to the food safety consumer protection were also found in this research.
1. There have been strict inspections on foods imported into Japan.
2. The strictness in control and inspections of foods that might have severe and sudden
effects on consumers’ health and life.
3. There have been the applications of computer networks in inspecting sources of foods.
4. There have been regulations for protection of the consumers in the 21th century.
Key Words : food safety, consumer protection, consumer, JapanArticle Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย