การจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1

Main Article Content

ณัฐกรณ์ สารปรัง
เอื้อมพร หลินเจริญ
อรอนงค์ แจ่มผล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1  2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1  3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1  วิธีดำเนินการวิจัย  มี  2  ขั้นตอน  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 143 คน และครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 337 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า  แบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจงแจงความถี่ จัดอันดับ   หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา  ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการความรู้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1   ผู้ให้ข้อมูล  ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญ   ที่มีความรู้ และประสบการณ์ จำนวน 17 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การแจงความถี่ จัดอันดับ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยรายด้านที่อยู่ในระดับมาก  ได้แก่  ด้านบรรยากาศ/วัฒนธรรมองค์กร  ด้านกระบวนการสร้าง ใช้จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์  ด้านการใช้ความรู้  ด้านชุมชนความรู้  ด้านกระบวนการตรวจสอบ (วัด)  สินทรัพย์ทางปัญญา  ด้านกระบวนการถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กร  ด้านการจัดหมวดหมู่ความรู้และจัดเก็บ  ด้านกระบวนการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กร  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนกระบวนการ

2. ปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1  โดยรายด้านที่อยู่ในระดับต่ำ  ได้แก่  ด้านการตรวจสอบ  คัดเลือกความรู้  ด้านการยกระดับความรู้  ด้านการค้นคว้าหาความรู้จากภายนอก  ด้านการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองจากการทำงาน  ด้านการกำหนดความรู้ที่จำเป็นสำหรับใช้งาน

3. แนวทางพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานในด้านที่สำคัญๆ ดังนี้

3.1 สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูสร้างความรู้จากการปฏิบัติงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกันและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบ และคัดเลือกความรู้ร่วมกัน ควรส่งเสริมให้ครูนำผลงานทางวิชาการหรือผลงานดีเด่น แฟ้มผลงานเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นและทำผลงานทางวิชาการ

3.2 สถานศึกษาควรจัดวางรูปแบบ หรือโครงสร้างที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจตรงกัน สร้างบรรยากาศในการทำงานแบบกัลยาณมิตร เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่าย โดยมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

3.3 สถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการประเมินเชิงบวก โดยประเมินเพื่อหาความสำเร็จและนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ในงาน

3.4 สถานศึกษาควรจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเป็นกัลยาณมิตรเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่กลัวเทคโนโลยี

คำสำคัญ : การจัดการความรู้

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) survey the conditions in schools under Kamphaeng Phet educational service area office 1. 2) investigate the problems of knowledge management in schools under Kamphaeng Phet educational service area office 1. 3) to explore  the experts views and guidelines on how to develop the knowledge management in schools Kamphaeng Phet educational service area office 1

The research was divided into 2 stages. The first phase was  collecting data related to    the general conditions and the problems of implementation of knowledge management in 2007 academic year,143 school administrators and 237 teachers were asked to fill in 5-rating scale questionnaires, open-ended questionnaires. Data collected were analyzed by means of frequency, the ranking, the arithmetic mean, the standard deviation and the content  analysis, The second  step was gathering  views and guidelines from 17 experts on how to develop and utilise the knowledge management in schools, The data were collected through (structured) interviews and analysed by the means of the above approach.

Finding of the research were as follow:

1. The overall conditions of knowledge management in schools under Kamphaeng Phet educational service area office 1 were found at a high level. Aspects for this study consisted of organization culture, initiative, community-base, application, intellectual- rights, knowledge- transfer, ICT- supports, and prioritation and storage.

2. The problems, considered in each aspect, were found at a low level.  Aspects for the study consisted of auditoring, selecting, promoting, researching, self-learning, and determining.

3. The experts suggested views and guidelines for better use of knowledge management as follows:

3.1  Encourage teachers to construct knowledge from action ,to share with peers or experts and to present the “ Best Practice ”.

3.2  Set structure/system for supporting teachers’ understanding ,encourage teachers’ network.

3.3  Positive assessment, assess for successes, support ‘Best Practice’ to urge creative thinking.

3.4  Set ICT experts to support teachers.

Key Words : KNOWLEDGE MANAGEMENT

Article Details

Section
-