แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

พัชรี บุญนาคแย้ม
ปรีชา อ่วมปัญญา
ธีระ ภักดี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู  ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก   เขต  2  และ  2)  หาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก   เขต  2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปีการศึกษา 2549  จำนวน  302  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่   แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย  พบว่า

1.  การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต  2

การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  โดยภาพรวม  อยู่ในระดับปานกลาง  และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการได้รับอำนาจ รองลงมาคือ ด้านการได้รับความไว้วางใจ  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการได้รับโอกาส

1.1  ด้านการได้รับอำนาจ  พบว่า  ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ   มีการประชุมประจำเดือนเพื่อแจ้งข่าวสารแก่ผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอ  มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู

1.2   ด้านการได้รับโอกาส พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ การสัมมนาทั้งนอกสถานที่อย่างน้อยปีละครั้ง  และ ได้เข้าร่วมอบรมระยะสั้นหรือระยะยาวเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู เสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงาน

1.3   ด้านการได้รับอิสระ  พบว่า  โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  สามารถปฏิบัติงานโดยผู้บริหารไม่ต้องนิเทศอย่างใกล้ชิด มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู

1.4       ด้านการได้รับความไว้วางใจ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

คือ  ผู้บริหารแสดงความมั่นใจว่าท่านสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ   มีการเสริม สร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู

1.5  ด้านการได้รับความเคารพ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ผู้บริหารปฏิบัติในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลหนึ่งในสถานศึกษา มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู

2. ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2 สรุปได้ดังนี้

2.1  ด้านการได้รับอำนาจ  คือ  วางแผนการจัดสรรงบประมาณเพื่อในการจัดกิจกรรมต่างๆโดยให้ครู คณะกรรมการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

2.2  ด้านการได้รับโอกาส คือ ใช้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยให้มีการประชุมคณะครูเพื่อร่วมกันแก้ปัญหารับฟังความคิดเห็นของบุคลากร หรือใช้การโหวดเสียงส่วนใหญ่

2.3   ด้านการได้รับ  คือ  ผู้บริหารคอยแนะนำให้คำปรึกษา  ดูแล  ติดตาม การดำเนินงานของครูอย่างเป็นกันเอง

2.4   ด้านการได้รับความไว้วางใจ  คือ  ผู้บริหารแสดงความไว้วางใจแก่บุคลากร ผู้ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้แล้วได้มอบอำนาจตามกรอบหน้าที่ในการตัดสินใจเพื่อให้ส่งผลดีต่องาน  และ ผู้บริหารแสดงความไว้วางใจแก่บุคลากรผู้ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้แล้วได้มอบอำนาจตามกรอบหน้าที่ในการตัดสินใจเพื่อให้ส่งผลดีต่องาน

2.5   ด้านการได้รับความเคารพ  คือ  ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของโรงเรียนในทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมกันวางแผน จนกระทั้งการประเมินผลงานเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ

คำสำคัญ : การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู

 

ABSTRACT

The  purposes  of  this  research  were  to  1) study  job  empowerment  of  teachers  in  schools  under  Tak  Educational Service  Area  office  2  and  2) find  the  guidelines  to develop  job  empowerment  of  teachers  in  school  under  Tak  Educational Service  Area  office  2.  The  samples  were  302  teachers  in  schools  under  Tak  Educational Service  Area  office  2  during  the  academic  year  2006.  The  research  instruments  were  a  rating  scale  questionnaire  and  an  interview form. Data  were  analyzed  by  mean,  standard  deviation  and  content  analysis.

The research  findings  were  as  follows :

1.  Job  empowerment  of  teachers  in  school  under  Tak  Educational Service  Area  office  2   were  shown  as  follows.

In  general,  job  empowerment  of  teachers  in  school  under  Tak  Educational Service  Area  office  2  was  at  a  moderate  level.  When  considering  each  aspect,  all  receiving  opportunity  was  at  a low  level.

1.1  In  general,   power  receiving  was  at  a  moderate  level.  When  considering  each  item ,  it  was  found  that  the item  with  the  highest  mean  were  monthly  meeting  and  working  empowerment.

1.2  In  general,  opportunity  receiving  was  at  a  moderate  level, when  considering  each  item ,  it  was  found   that academic  meeting  or  a  seminar  and  short  term  or  long  term  participation  to  training were  the  highest  mean.

1.3 In  general, Freedom  receiving  was  at  a  moderate  level. When  considering  each  item ,  it  was  found  that  teachers  could  do  the  job  without  close supervision was  the  highest  mean.

1.4  In  general, trust   receiving  was  at  a  moderate  level. When   considering each  item , it  was  found  that the  administrators  were  confident  in  working  was  the  highest  mean.

1.5  In  general, respect  receiving  was  at  a moderate  level  when  considering  each  item ,  it  was   found  that  which  the  administrators  acted  as one  of  the  schools’  personnels  was  the  highest  mean.

2.   The  guidelines  to  develop  teacher’s  job  empowerment  of  teachers  in  schools  under  Tak  Educational Service  Area  office  2  were  shown  as  follows :

2.1  Regarding  power  receiving,  it  was  recommended  that  teachers  and  schools committees  participate  in  providing  budget.

2.2  Regarding  opportunity receiving,  it  was suggested  that  teachers  participate  in  participatory  administration  especially  holding  a  meeting  to  solve  the  problems  or  vetoing for  working.

2.3  Regarding  freedom   receiving,  it  was  suggested  that  the  administrators  provide   informal  supervision.

2.4   Regarding  trust  receiving,  the  administrators   trust  the  personnels  and  assign  a  job  by  personnels  duties.

2.5  Regarding  respect  receiving, it  was  suggested  that  the  administrators  give  a chance  for  personnels  to  participate  in  planning  and  evaluation.

KeyWords : Teacher’s  job  Empowerment

Article Details

Section
-