การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จารุวรรณ์ กิ่งแก้ว
วารีรัตน์ แก้วอุไร
อุมาพร ฉัตรวิโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  2) ใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ดังนี้  2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6     2.2) ศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  และ  2.3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่  6  จำนวน  6  ชุด  2) ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบประเมินพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อการเรียน  4) แบบสอบถามความพึงพอใจ  วิธีดำเนินการวิจัย     การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ผู้วิจัยได้ดำเนินการเป็น  3 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ผู้วิจัยสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม  จำนวน  6  ชุด  โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  ท่าน  พิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องของชุดกิจกรรม  จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ  นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  30  คน  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์  75/75  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ค่าเฉลี่ย  และหาประสิทธิภาพจากสูตร  E1/ E2 ขั้นตอนที่  2  การใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างก่อนกับหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2551  โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์  สังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก  จำนวน  40  คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  แบบแผนการวิจัยที่ใช้ในการทดลองคือ  One  Group  Pretest  Postest  Design  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสถิติ     t – test   แบบ  Dependent   ขั้นตอนที่  3  การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความเหมาะสมในระดับมาก  และมีประสิทธิภาพเท่ากับ  78.18/79.06

2.  ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  พบว่า

2.1  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ หลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

2.2  นักเรียนมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างเรียนอยู่ในระดับดีมาก  จำนวน  3  ชุด  และมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี  จำนวน  3  ชุด  และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพหลังเรียนโดยใช้แบบวัดพฤติกรรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี

3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

 

ABSTRCT

The purposes of this research were 1)  to construct  and  study  the efficiency of  the  development  of  Instructional  Package  to  enhance  Good  Healthy Behaviors  in  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students   2)  to apply  and  study  the  resalt  of  the   Instructional  Package  to  enhance  Good  Healthy Behaviors  in  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students as follows :  2.1)  to compare a  learning  achievement between  before  and  after  to  use  Instructional  Package  to  enhance  Good  Healthy Behaviors  in  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students.  2.2)  to study a good healthy behaviors  after  learned  white  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students.  2.3)  to study a satisfaction  toward  learning white  the  Instructional  Package  to  enhance  Good  Healthy Behaviors  In  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students.

The research  instruments  are  6 Instructional  Package  to enhance  Good  Healthy Behaviors  in  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI Students. Behaviors  Questionier and a  satification  test.  Research Methodology  are  3  steps  of  research  and  development  as follow : 1) Constructing  and studying an efficiency of  The  development  of   Instructional  Package  to  enhance  Good  Healthy Behaviors  In  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students  by 5 specailist consider the suitability & consistent of Instructional  Package then ring rectify follow an advice, induce experience use with 30 Prathom  Suksa  VI  Students  for development and seek an efficiency on standard 75/75.  The statistics that use in data analysis was Mean and seek an efficiency by E1 /  E2. 2) Application  and  stying a result of  pre - post used of   the  Instructional  Package  to  enhance Good  Healthy Behaviors  in  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students. The sample group of this research was a 40 Prathom Suksa VI Students, 2nd term , education year 2551, Tessaban Wat Manee paison School under Maesod municipality, Maesot district, Tak Province which get from specify choose random model.  Research pattern that use in the experiment was One  Group  Pretest  Postest  Design.  Data analysis by Mean, S.D.,t - test (Dependent)  3)  To study a satisfaction                a learning Instructional Package to Promote Good Healthy Behaviors.   The sample group of this research was a 40 Prathom Suksa VI Students, 2nd term , education year 2551, Tessaban Wat Manee paison School under Maesod municipality, Maesot district, Tak Province. The research intrument were  a satisfaction a learning Instructional Package Evaluation Questionnaire. Data analysis by Mean, S.D..

The research findings were as follow:

1.  Instructional  Package  to  enhance Good  Healthy Behaviors  In  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students had the suitability and consistent in high level, has an efficiency at 78.18 / 79.06.

2.  A  result  of  application  are

2.1  Students had achievement of The  development of Instructional  Package to Promote  Good  Healthy Behaviors  In  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI  Students  post learning higher than pre-learning at  a significance level at .01

2.2  Students had a Promote Good Healthy Behaviors at Excellent  level  3 units and  at good level 3 units and post learning Promote Good  Healthy Behaviors, test by Promote  Good  Healthy Behaviors Questionnaire was good level.

3.  Students satisfaction a Instructional  Package to Promote  Good  Healthy Behaviors  In  the  Physical  Education  Subject  for  Prathom  Suksa  VI   at high level.

KEYWORD : Learning Activity Package Health Promoting Behavior

Article Details

Section
-