การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการสอนโดยใช้ชุดฝึก 3) เพื่อประเมินคุณภาพของเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ได้พัฒนาขึ้นหลังจากการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้วิจัยได้นำชุดฝึกทักษะที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง และแบบกลุ่มเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะก่อนนำไปทดลองใช้ ตอนที่ 2 ศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้นำชุดฝึกทักษะไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 30 คน โดยทดสอบทักษะการคิดก่อนและหลังการใช้ชุดฝึก แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะการคิดก่อนและหลังเรียน และประเมินเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะเป็นสื่อประกอบการเรียน โดยจัดเรียงเนื้อหาและกิจกรรมตามขั้นตอนของการพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ มีทั้งหมด 3 ชุดฝึก เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ และมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ พบว่า ชุดฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.10/80.00 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ได้กำหนดไว้
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดเพื่อพัฒนาเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์มีทักษะการคิดสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการประเมินคุณภาพของเค้าโครงโครงงานที่นักเรียนพัฒนาขึ้นในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.60)
คำสำคัญ : ชุดฝึกทักษะการคิด, เค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to construct and investigate the efficiency of thinking module on the computer project outline for grade XII students, 2) to compare a thinking skill to develop the computer project outline for grade XII students before and after using thinking module, and 3) to evaluate quality of the computer project outline developed by grade XII students after studying the thinking module. The research was divided into two stages as follows: 1) Constructing and investigating the efficiency of thinking module on the computer project outline for grade XII students. The researcher sent a thinking module to specialists for checking and then tested the module with grade XII students, by one by one method and by group method for finding the efficiency of the module before trying out the module. 2) Studying a result of thinking module on the computer project then analyzing data for finding the efficiency of learning package, comparing thinking skill before and after using thinking module, then sending the computer project outline to specialists to find the quality of the module. The subject consisted of 30 students of Maepawitthayakhom school, Maesot district, Tak Province.
The research findings were as follow :
1. The thinking module on the computer project outline for grade XII students was a learning media on a computer project outline development including 3 modules : analytic thinking, synthetic thinking and creative thinking. The efficiency of the module was 80.10/80.00 as high was higher than the expected standard level of 80/80.
2. Student’s thinking skill was found significantly higher at the level of 0.01.
3. The overall quality of the module at a was high level ( = 3.60).
KEYWORDS : Thinking Module, The Computer Project Outline
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย