การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

Vitaya chandang

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการนำนโยบายเรื่องการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งไปสู่การปฏิบัติ  2) ศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน  3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร  การสัมภาษณ์ เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า         1) นโยบายการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีการดำเนินการในด้านการเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน  การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การจัดการความรู้และการเรียนรู้ของคนในชุมชน

2) ชุมชนมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการชุมชน การประกอบอาชีพ 

การจัดการทรัพยากรในชุมชน และการพัฒนาองค์กรในชุมชน 3) รูปแบบใหม่ที่ค้นพบ คือ การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งแบบบูรณาการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการวิจัยในครั้งนี้นำไปสู่ข้อค้นพบใหม่ คือ 

1) การมีส่วนร่วมที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งแบบไตรภาคี ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคีสนับสนุน 2) ระบบสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ ระบบความรู้ ระบบข้อมูล ระบบความสัมพันธ์ และมีแนวทาง ในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง 3) แนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง คือ แนวทางด้านการฟื้นฟูชุมชน แนวทางด้านการปรับตัวของชุมชน และแนวทางด้านการดำรงอยู่ของชุมชน

 คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการ / ชุมชนเข้มแข็ง / ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง / เขตจังหวัดภาคกลางตอนบน

The objectives of this research were 1) to study the effectiveness of policy implementation on the philosophy of sufficiency economy to the strengthening of communities in the upper central provinces, 2) to study the application of the philosophy of sufficiency economy to the strengthening of communities therein and 3) to create a strong community development, managed according to the philosophy of sufficiency economy. The qualitative research method was used by emphasizing documentary study, an in-depth interview of 23 key informants, focus group technique, and non-participant observation were employed for gathering data. The findings of this research were as follows : 1) implementation of the philosophy of sufficiency economy to the strengthening of communities in the region was undertaken to increase the capacity of community organizations, promotion of participation, and knowledge management and learning of the community, 2) The process of applying the philosophy of sufficiency economy was undertaken to the community management, occupation, resource management and development  and 3) The new model from this research  was an integration model for a community management  in line with sufficiency  economy. The new knowledge derived from this research was as follows: 1) The tripartite participation in order to support a strong community consisting of community organization, government organization and other supportive organizations, should be encouraged. 2) The supportive system for community strengthening were knowledge, information village systems and relation systems, should be also created, and 3) approach to create a strong community should be rehabilitation of community, the adaptation of community, and strategy for continuing the existence of the community.

Keywords : Model of Management / Strong Community / Sufficiency Economy /Upper Central Thailand

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)