วิเคราะห์รูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกำแพงเพชรและศึกษาความนิยมของผู้สร้าง และผู้ชมต่อรูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

มัย ตะติยะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเภทการวิจัยเชิงบรรยาย  หรือการวิจัยเชิงพรรณนา  และวิจัยเชิงสำรวจ  โดยการสำรวจประชามติจากผู้สร้างและผู้ชม  ซึ่งได้จากการจัดนิทรรศการ  ภายใต้ชื่อ “ วิเคราะห์รูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกำแพงเพชรและศึกษาความนิยมของผู้สร้างและผู้ชมต่อรูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัย  อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร ”  ระหว่างวันที่  2 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553   ณ  หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  โดยมีแบบรูปธรรมเป็นผลงานที่มีตัวตน สามารถมองเห็นแล้วรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นรูปทรงธรรมชาติตรงกับการถ่ายทอดทฤษฎีเหมือนจริง   แบบกึ่งนามธรรมเป็นผลงานที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน  เมื่อมองเห็นแล้วพอจะเข้าใจว่าเป็นรูปทรงธรรมชาติที่ตัดทอนและเสริมแต่งตรงกับการถ่ายทอดทฤษฎีทางปัญญา   และแบบนามธรรมเป็นผลงานที่ไม่มีตัวตน  เมื่อมองเห็นแล้วจะไม่สามารถเข้าใจว่าเป็นรูปทรงอิสระหรือรูปทรงเรขาคณิตซึ่งตรงกับการถ่ายทอดทฤษฎีการรับรู้

รูปแบบผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยในจังหวัดกำแพงเพชร  ได้แก่  แบบรูปธรรม   แบบกึ่งนามธรรม และแบบนามธรรม  ในด้านคุณค่าความงาม  คุณค่าเรื่องราวผู้ชมในจังหวัดกำแพงเพชรยังขาดความสนใจ  ขาดความรู้ความเข้าใจค่อนข้างมาก   ด้านทัศนคติของผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกำแพงเพชร  โดยเฉพาะศิลปินในกลุ่มอำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  จะมีความนิยมแบบรูปธรรม  กึ่งนามธรรม  และนามธรรมตามลำดับ  และด้านเจตคติของผู้ชมผลงานรูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัย  โดยเฉพาะในอำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  ผลปรากฏว่ามีความชอบแบบรูปธรรมกึ่งนามธรรม  นามธรรมตามลำดับ  แต่ก็อยู่ในระดับความชอบมากเหมือนกัน  อันนี้อาจเนื่องมาจากมีการเขียนอธิบายภาพแต่ละภาพอย่างละเอียด  เพื่อให้ผู้ชมมีความรู้ความเข้าใจในผลงานมากยิ่งขึ้น  

 

Abstract

This descriptive study was a survey of viewers and artists’ consensus of opinion on Kamphaeng Phet’s Contemporary Visual Arts. The survey was conducted during an art exhibition entitled “An analysis of Kamphaeng Phet’s Contemporary Visual Arts and the Preference towards Kamphaeng Phet’s Contemporary Visual Arts” which was organized on July 2 – 3, 2010 at the main auditorium of Kamphaeng Phet Rajabhat University.  Works of Contemporary Visual Arts displayed at the exhibition consisted of concrete, semi abstract and abstract works.

The viewers and artists were asked to express their opinions through a questionnaire which focused on specific aspects including the aesthetics value and the content value regarding. The analysis revealed that local people of Kamphaeng Phet still had low interest and understanding in the works of realistic which is the form of work that the viewers know without any interpretation what work they are viewing, semi abstract which is the form of work that the viewers need to use their experience of the world to know what the work is and abstract which the viewers need to use their own imagination to interpret the work. Regarding the attitude of the artists towards the creation of contemporary visual arts, it was found that realistic works were the most popular form, followed by semi abstract and abstract respectively.  According to the viewers’ preference, works in form of realistic was the most popular followed by semi abstract and abstract works respectively. However, the preference of the three forms of works was found at a high level which may result from the preciseness of explanation of each picture.

Article Details

Section
-