การเทียบเคียงระบบการจัดการ กรณีศึกษา กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการ พัฒนาฟาร์มโคพันธุ์อินดูบราซิล

Main Article Content

ยุพิณ ไกรหาญ
ประจักษ์ ผลเรือง
กฤตติกา แสนโภชน์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การเทียบเคียงระบบการจัดการ กรณีศึกษา กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการพัฒนาฟาร์มโค พันธุ์อินดูบราซิล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการฟาร์มโคพันธุ์อินดูบราซิล เพื่อเทียบเคียง (Benchmarking) ระบบการจัดการของฟาร์มเป้าหมายการพัฒนากับฟาร์มต้นแบบการพัฒนา (The Best Practice Farm) และเพื่อหากลยุทธ์การจัดการฟาร์มให้ประสบผลสำเร็จ และประเมินกลยุทธ์การจัดการฟาร์ม โดยศึกษาฟาร์มต้นแบบการพัฒนาคือ ชูวิทย์ฟาร์ม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยทำการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ตัวแปรที่สำคัญคือ สถานที่ (Place) ราคา (Price) ผลิตภัณฑ์ (Product) หลักการประชาสัมพันธ์ของฟาร์ม (Promotion) หลักการบริหารจัดการฟาร์มแบบมืออาชีพ (Proactive)  แรงกระตุ้นหรือปัจจัยที่ทำให้สนใจในการเลี้ยงโค (Pleasure) และวิธีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ (Practice) ทั้งจากฟาร์มต้นแบบการพัฒนาและฟาร์มเป้าหมายการพัฒนา มีวิธีการในการศึกษาหรือกระบวนการวิจัย 3 ระยะผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการฟาร์มโคพันธุ์อินดูบราซิลของฟาร์มเป้าหมายการพัฒนา ประกอบด้วย ปัญหาของการให้น้ำเชื้อ การประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายโรงเรือนยังไม่มีการกำหนดแบ่งโซนที่เป็นระเบียบ พื้นที่การใช้เลี้ยงไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องการเดินทางเข้าเยี่ยมชมของลูกค้าเนื่องจากฟาร์มตั้งอยู่ห่างไกลตัวเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับราคาวัคซีนป้องกันโรค และราคาอาหารเสริมที่ค่อนข้างราคาแพง ปัญหาเกี่ยวกับราคาน้ำเชื้อที่ถูก และไม่มีอุปกรณ์ในการเก็บน้ำเชื้อให้สามารถใช้ได้นานๆ หน่วยงานราชการขาดการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ราคาจำหน่ายลูกโคต้องขึ้นอยู่กับกลไกลของตลาดไม่สามารถกำหนดราคาด้วยตนเองและปัญหาการเจ็บป่วยของโค ระยะที่ 2 การเทียบเคียง ระบบการจัดการของฟาร์มเป้าหมายการพัฒนากับฟาร์มต้นแบบการพัฒนา พบว่า ฟาร์มต้นแบบการพัฒนามีการบริหารจัดการฟาร์มในด้าน สถานที่ ราคา ผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ของฟาร์ม หลักการบริหารจัดการฟาร์มแบบมืออาชีพ แรงกระตุ้นหรือปัจจัยที่ทำให้สนใจในการเลี้ยงโค และวิธีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่มีสมรรถนะหรือมีความเหมาะสมดีมาก ส่วนฟาร์มเป้าหมายการพัฒนามีการบริหารจัดการฟาร์มในด้านสถานที่ ราคา ผลิตภัณฑ์ หลักการประชาสัมพันธ์ของฟาร์ม การบริหารจัดการฟาร์มแบบมืออาชีพ แรงกระตุ้นหรือปัจจัยที่ทำให้สนใจในการเลี้ยงโค และวิธีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่มีสมรรถนะหรือมีความเหมาะสมปานกลางระยะที่ 3 การพัฒนาฟาร์มเป้าหมาย ผลจากการเทียบเคียงในระยะที่ 2 พบว่าด้านสถานที่และด้านประชาสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนระหว่างฟาร์มต้นแบบการพัฒนาและฟาร์มเป้าหมายการพัฒนาอยู่ที่ 7.16 และมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนระหว่างฟาร์มต้นแบบการพัฒนาและฟาร์มเป้าหมายการพัฒนาอยู่ที่ 9.75 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองด้านถือว่ามีความสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องมีการพัฒนาก่อนด้านอื่น ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือกพัฒนาด้านสถานที่และด้านการประชาสัมพันธ์ วิธีการที่ใช้คือ การสร้างโรงเรือนเลี้ยงโคใหม่ โดยการทำเป็นคอกไม้ ปูพื้นด้วยดินเหนียวนุ่มคลุมด้วยฟางสับ และมีแนวกั้นน้ำฝนไหลเข้าท่วมพื้นคอก จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้และศักยภาพของฟาร์ม โดยนำไปเผยแพร่ในจังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดละ 5 อำเภอ และเผยแพร่ที่ตลาดนัด โคงามตามเทศกาลต่างๆ นอกจากนั้นยังได้ทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อติดประชาสัมพันธ์ในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี จังหวัดละ 5 อำเภอ โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุชุมชนบ้านเซิม อำเภอโนพิสัย จังหวัดหนองคาย ส่วนการประเมินผลการพัฒนาฟาร์มเป้าหมาย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 26 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบว่าผลการพัฒนาฟาร์มเป้าหมายโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การเทียบเคียง, การพัฒนาฟาร์มโคพันธุ์อินดูบราซิล, การพัฒนาฟาร์ม

 

Abstract

The objectives of this research were to study the problem conditions and the obstacles in managing Indu - Brazil Farm for benchmarking the management system of the sample farm to the best practice farm and for finding the strategies of successful farm development, then for evaluating the strategies of farm development by studying from the best practice farm “Chuwit Farm” that is located in Amphoe Muang Nongkhai for a farm before using its knowledge to develop with the sample farm “Aroonrodge Farm” that is located in Amphoe Phonphisai Nongkhai by studying, analyzing and synthesizing. The important factors are place, price, product, promotion, proactive, pleasure and practice from both farms. There are three periods for the research process. The results of research were found that: The first period: the problem conditions and the obstacles in managing Indu – Brazil Farm were composed of the problem of given sperm,the public relation hasn’t been covered to the sample yet, no neat fixed zone of the shed, the lack of raising area, the problem about visiting of clients due to the long distance from downtown, the problem about the high price of vaccine and food supplement, the problem about the low price of sperm and the lack of equipment for gathering it for a long time, the lack of supporting concretely from the government agencies and the marketing process and the illness of cow affected the price. The second period: benchmarking the management system of the sample farm with the best practice farm found that the best practice farm has had farm management about place, price, product, promotion, proactive, pleasure and practice overall at the potency level or the best appropriate degree and the other has had farm management about place, price, product, promotion, proactive, pleasure and practice overall at the potency level or the medium appropriate degree. The third period: the sample farm development, the result of benchmarking during the second period found that there were different average points between the best practice farm and the sample farm about the place and the promotion at 7.16 and 9.75 respectively. Both of them have urgent importance to be developed before other kinds. So the researcher chose to develop about the place and the promotion. The solving way is to build the new shed: it was built with wood, the floor was spread by soft clay which was covered another floor upper by some chopped hay. Besides, there were some water blocks and roofs to protect the rain and the sun and the other one for solving the promotion is to make some brochures to spread knowledge and potency of farm and then take them to spread in 5 Amphoes in Nongkhai and Udonthani and at Nice Cow Market in each fair. In addition, there were sign boards to give information in 5 Amphoes in Nongkhai and Udonthani and advertisement through the Banserm local radio station Amphoe Phonphisai in Nongkhai. The result of evaluating sample farm development from 26 people of sample groups found that the result of the sample farm development was overall at the high level.

KEY WORD : Benchmarking, Indubrazil Farm Develoment, Farm Development

Article Details

Section
-