แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของกฎหมายภาษีอากร พนักงานผู้จัดเก็บภาษีอากร บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร และโครงสร้างภาษีอากร กับประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชร 3) หาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูล จำนวน 186 คน และแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก และ ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชรในภาพรวมและรายได้อยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยด้านลักษณะของกฎหมายภาษีอากร โครงสร้างภาษีอากร บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร และพนักงานผู้จัดเก็บภาษีอากร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แนวทางที่สำคัญในแต่ละด้าน มีดังนี้
3.1 ปรับปรุงระเบียบ กฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของท้องถิ่นให้ทันสมัย ชัดเจน เพื่อที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.2 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้เป็นระบบ สามารถจัดเก็บได้ถูกต้องและเป็นธรรม ไม่มีความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน
3.3 มีมาตรการจูงใจในการให้ประชาชนเต็มใจชำระภาษี เช่น การจัดทำโครงการภาษีคืนกำไร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เป็นต้น
3.4 จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จากวิทยากรผู้มีความสามารถ เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับ กฎหมาย ระเบียบ และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บรายได้และการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา, การจัดเก็บรายได้, ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to study efficiency of revenue collection of the local administrative organizations, Kamphaeng Phet province. 2) to study the relationship between the input of revenue law, revenue officers, appropriate condition for revenue paying and revenue structure and efficiency of revenue collection of the local administrative organizations, Kamphaeng Phet province. 3) The guidelines to develop efficiency of revenue collection of the local administrative organizations, Kamphaeng Phet province. The research instruments were questionnaires and interview. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, content analysis and Pearson’s Product Moment Correlation.
The research findings were as follows:
1. Both in general and each aspect the input that involved with revenue collection were in high level and also the efficiency of revenue collection was in a high level, too.
2. The input of revenue law, revenue structure, appropriate condition for revenue paying and revenue officers was positive relation with the efficiency of revenue collection of the local administrative organizations, Kamphaeng Phet province at significantly different 0.01.
3. The development guidelines for efficiency of revenue collection of the local administrative organizations, Kamphaeng Phet province were shown as follows:
3.1 Low and involved rules should be improved and modern.
3.2 Improved revenue structure into system can utilization correct and justice.
3.3 The organization should motivate people for their willingness of revenue paying such as the project of refunding people’s revenue, and increasing revenue collection’s efficiency project etc.
3.4 The officers should be trained to know about law and involved knowledge at least once a year.
Key Words : Development Guidelines, Revenue Collection, Efficiency of Revenue
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย