การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลกำแพงเพชร

Main Article Content

สุวารี อยู่ยอด
สมชัย วงษ์นายะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของพยาบาล และปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลกำแพงเพชร เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการจัดการความเจ็บปวดแผลผ่าตัดและศึกษาผลของแนวทางปฏิบัติที่ได้  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในกลุ่มงานวิสัญญีและหอผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 64 คน แพทย์ 2 คน และผู้ป่วยหลังผ่าตัดตามเกณฑ์คุณสมบัติ จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ และการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของพยาบาลในโรงพยาบาลกำแพงเพชร

1.1 สภาพการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของพยาบาล  พยาบาลพบว่าส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมการจัดการกับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอในด้านสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม การประเมินระดับความเจ็บปวดก่อนให้ยาและการพยาบาล   การบันทึกการให้ยาบรรเทาปวด การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวด ยาบรรเทาปวด ผลข้างเคียงของยาและการดูแลต่อเนื่อง

1.2 ปัญหาการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของพยาบาล พยาบาลพบว่าส่วนใหญ่ลืมลงบันทึกการประเมินความปวดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีภาระงานมาก ไม่เห็นความสำคัญและไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจแบบประเมินความปวด ขาดการประเมินปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการปวดแผล เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการอบรม ขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการระงับปวด รวมทั้งไม่มีนโยบายที่ชัดเชน

2. ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดโรงพยาบาลกำแพงเพชร

2.1 ปัญหาต่อการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของผู้ป่วยพบว่า

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการแจ้งสิทธิในการขอความช่วยเหลือในการบรรเทาปวดและไม่ได้รับการดูแลโดยไม่ใช้ยาบรรเทาปวด รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบรรเทาปวด

2.2 ความต้องการต่อการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของผู้ป่วย

พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการให้ซักถามอาการปวดอย่างต่อเนื่อง ต้องการยาบรรเทาปวดจนหายปวด และต้องการให้พัฒนาด้านการให้ข้อมูลการบรรเทาปวด

3. การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้แก่ 1) จัดทำคู่มือในการแจ้งสิทธิ   การบรรเทาปวด การให้ยาบรรเทาปวดกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด 2) จัดทำเครื่องมือประเมินระดับความปวด 3) จัดทำเอกสารให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด 4) มีการติดตามผลสำเร็จของการบรรเทาปวด 5) มีการปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติการจัดการกับความเจ็บปวดและ 6) จัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่พยาบาล

4. ผลการติดตามการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดในห้องพักฟื้น ของโรงพยาบาลกำแพงเพชร ภายหลังการนำแนวทางพัฒนาไปปฏิบัติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าสามารถบรรเทาปวดแผลได้มากและมีความพึงพอใจระดับมาก วิสัญญีพยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่าแนวทางการปฏิบัติในการจัดการกับความเจ็บปวดแผลผ่าตัด มีความชัดเจนและเหมาะสม สามารถบรรเทาปวดแผลผ่าตัดได้มากและมีความพึงพอใจต่อแนวทางในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติ, การจัดการความเจ็บปวด

 

ABSTRACT

This research aimed at assessing condition , problem of postoperative pain management of professional nurses and  problem , the requirement of surgical patients at Kamphaengphet Hospital. The finding led to develop the postoperative pain management and evaluate the results after development. The samples were  64 professional nurses working at anesthetic department and patient wards, 2 physicians and 101 surgical patients . The instruments were  questionnaire, interview from and focus group discussion . The obtained data was analyzed using frequency, percentage and content analysis .

The major findings were as follows :

1. Condition and problem of postoperative pain management of professional nurses at Kamphaengphet Hospital.

1.1 Condition on postoperative pain management ,it was found that most of the nurses had regularly done activities regarding postoperative pain management for their patients , including  patient rights and ethics , postoperative pain assessment before providing pain medicine and nursing care. In addition , they recorded the use of pain medicine, providing the knowledge of postoperative pain, medicine and side effects as well as continuing care.

1.2  Problems on postoperative pain management of the nurses, it was found that most of them forgot to record the periodic assessment of postoperative pain and assess factors  effecting patients, pain because of their  overload work . They also lacked knowledge of the  importance of pain assessment, training and tools for pain inhibition as well as a clarity of nursing policy. In addition, the patients did not understand pain assessment tool.

2. Problem and the requirement of surgical patients at Kamphaengphet Hospital.

2.1. Problems on postoperative pain management of surgical patients, it was found that most of patients did not receive  information on patient rights and support for relief their pain and providing non – pharmacological pain management. They lacked knowledge of pain relief technique.

2.2. Requirement on postoperative pain management for surgical patients, it was found that most of  them wanted continuae  pain assessment, pain medicine and  the information development for postoperative pain relief.

3. Development guidelines for postoperative pain management in recovery room were as follows : developing the manuals for patient right, postoperative pain relief , pain medicine, developing an assessment tool for evaluating  levels of pain, making a  handout for educating patients about pain management, following up with patients on the effect of pain management, improving a method in pain management, educating and  training nurses.

4. The following effect of guideline development for postoperative pain management in the recovery room, it was found that most of patients demonstrated a high level of satisfaction after receiving the pain management care. Similarly, the nurse anesthetists also think that this pain management care methods are clear and very effective in alleviating the pain from surgery wounds. The nurses are very satisfied with this pain management  method.

Key Words : Development of Practice Guideline, Postoperative Pain Management

Article Details

Section
-