การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้าเพื่อการบริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้าเพื่อการบริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการจัดทำบัญชีในระดับชุมชน และบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้า ตลอดจนปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มชุมชนทอผ้า 3) เพื่อทดลองใช้ระบบบัญชีของกลุ่มชุมชนทอผ้า ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ธุรกิจกลุ่มชุมชนทอผ้า ได้แก่ อำเภอตากฟ้า ชุมชนบ้านธารสัมฤทธิ์ อำเภอตาคลี ชุมชนบ้านจันเสนและชุมชนสุภาจันเสน รวมทั้งสิ้น 98 คน ในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์การผันแปร (Analysis of Variance ANOVA) เพื่อทำการเปรียบเทียบผลของการฝึกอบรมผู้ทำบัญชีของกลุ่มทอผ้า ก่อนและหลังการฝึกอบรม และทำการวิเคราะห์เส้นทาง(ความสัมพันธ์)(Path Analysis) เพื่อใช้ทดสอบเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ทุกเส้นที่อยู่ในกรอบแนวคิดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) เมื่อได้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง(Part Coefficients) จะนำเสนอตารางแสดงให้เห็นผลเชิงสาเหตุ และผลของตัวแปรอิสระแต่ละตัวทั้งทางตรง (Direct Effect) และทางอ้อม (Indirect Effect) ที่มีต่อตัวแปรตาม ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทำบัญชีส่วนใหญ่เป็นหญิงอายุเฉลี่ย 49 ปี อายุต่ำสุด 21 ปี และสูงสุด 63 ปี อยู่อำเภอตาคลี จบการศึกษาระดับปวช. ปวส. มัธยมปลายหรือเทียบเท่า โดยส่วนใหญ่จบด้านการบัญชี ส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายให้ทำบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้า 1 ปี มีประสบการณ์ในการทำบัญชีเฉลี่ย 1.31 ปี และส่วนใหญ่ไม่มีผู้ตรวจสอบบัญชีของกลุ่มชุมชนทอผ้า ปัญหาการจัดทำบัญชีของกลุ่มชุมชนทอผ้าก่อนการอบรมผู้วิจัยค้นพบว่า ผู้จัดทำบัญชีและหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชีไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการจัดทำบัญชีของลุ่มชุมชนทอผ้าจำเป็นต้องมีระบบบัญชี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1) สมุดบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้าแบ่งออกเป็น 11 เล่ม 2) รายงานทางการเงินของกลุ่มชุมชนทอผ้า แบ่งออกเป็น 3 งบการเงิน หลังจากอบรมผู้ทำบัญชีแล้ว ผลการทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าความสามารถในการทำบัญชีเป็นผลทางตรงและการอ้อมผ่านการบริหารจัดการ ส่วนการบริหารจัดการก็มีผลต่อการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมในเชิงสาเหตุในทางตรงเช่นกันคำสำคัญ : การพัฒนาระบบบัญชี, ระบบบัญชี, กลุ่มชุมชนทอผ้า, ความรับผิดชอบต่อสังคม
Abstract
The Development of an Accounting System for Socially Accountable Management of Weaves' Communities in Nakhonsawan Province. Research objectives; 1) to study the accounting system weaves group and the current problems. 2) to development of accounting system for weaves community. 3) to test the result of accounting weaves community. Sampling from; Amphur takfa, Bantansamrit community, Amphur taklee, Banjansen and Supajansen community in Nakhonsawan Province. Researcher used analysis of variance ANOVA to compare pre and post-training. Also path analysis was used to test the relationship among the variables. The research results were the majority of accountancy were female, average age was 49 years, the lowest age was 21 years, and the highest age was 63 years. Location was taklee district; the education background were the certificate of Vocational Education, the higher certificate of vocational education, senior high school level or equivalent. They were given 1 year account management and 1.31 year experience in account. Most did not have account examiner and low education in accounting. Research result showed the community need to have 2 accounting systems which are account book and financial report. and experiment showed after training, there were different between pre and post training by using (T-test) intern of knowledge, ability, accounting control. Average score test after training different in .05 point. Also after using path analysis and Stepwise regression found higher social responsibility in case of accounting ability to direct management. Management effects directly to reasonable social responsibility.
Key Word : Accounting System Development, Group Weaves, Social Responsibility
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย