ความพร้อมของวัดพระบรมธาตุนครชุม ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม

Main Article Content

รัชนีวรรณ บุญอนนท์
พธูรำไพ ประภัสสร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง  ความพร้อมของวัดพระบรมธาตุนครชุมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม  มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1)  ศึกษาลักษณะทางกายภาพของวัดพระบรมธาตุนครชุมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม และ 2) ศึกษาความพร้อมของวัดพระบรมธาตุนครชุมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยววัดพระบรมธาตุนครชุม จำนวน  400 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการวัดพระบรมธาตุนครชุม จำนวน 36 คน  เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในรูปค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ()  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และใช้การบรรยายประกอบคำอธิบายผลของข้อมูลจากตาราง ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า วัดพระบรมธาตุนครชุมมีลักษณะทางกายภาพเหมาะต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม กล่าวคือ วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชร  ภายในวัดพระบรมธาตุนครชุมมีศิลปกรรมที่โดดเด่นแตกต่างจากวัดอื่น ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร คือ มีองค์พระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  9  พระองค์ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงปลูกไว้   เป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปเดินทางมากราบไหว้และสักการะ นอกจากนี้ยังมีศิลปกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ   เช่น   วิหารพระประทานพร   วิหารอดีตเจ้าอาวาส  ศาลาเรือนไทย เป็นต้น  ด้านความพร้อมของวัดพระบรมธาตุนครชุมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรมตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวนั้น พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อความพร้อมของวัดพระบรมธาตุนครชุมทางด้านสิ่งดึงดูดใจภายในวัดฯ  การเข้าถึงหรือเส้นทางเข้าถึงวัดฯ สภาพแวดล้อมของวัด  ข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยวของวัดฯ และการให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวของวัดฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีเพียงด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในวัดและบริเวณรอบ ๆ วัดฯ เท่านั้นที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาวัดพระบรมธาตุนครชุมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรมนั้น ทุกภาคส่วนมีความคิดเห็นตรงกันว่า วัดควรมีการพัฒนาวัดพระบรมธาตุนครชุมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชม ดังนี้ 1) วัดควรมีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน  2) วัดควรพัฒนาให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม 3) ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัดให้สงบ ร่มรื่น สวยงาม 4) เพิ่มป้ายบอกทิศทางมาวัดฯ  5) เพิ่มป้ายอธิบายและให้ข้อมูล ณ โบราณสถานและโบราณวัตถุภายในวัด  6) ด้านหลังวัด (เดิมเป็นหน้าวัด) ควรปรับให้เป็นถนนวัฒนธรรม 7)  ควรมีมาตรการจัดการสุนัขภายในวัดให้มีที่อยู่อย่างเป็นสัดส่วน  8) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการจัดการวัดฯ

คำสำคัญ : ความพร้อมของวัด, แหล่งท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม

 

ABSTRACT

The aims of this study were 1) to study the physical characteristic of Phra Borrommatat Nakornchum Temple as the art tourism destination and 2) to study the readiness of the temple as the art tourism destination. The samplings were 400 tourists who traveled to this temple and 36 steakholder. The research tools were the questionnaire and the in-depth interview. The quantitative data analyzed as frequency, percentage, mean (), standard deviation (S.D) and table description. The qualitative data used  the content analysis. The research result has found that this temple has suitable physical characteristic as the art tourism place. As this temple was built as the same time as Nakornchum City and serves as the city temple likes Phra Kaew Temple which serves as Kamphaeng Phet City temple. Inside the temple has the distinguish differentiation from the others in Kamphaeng Phet. There were 9 pagodas which contained the Buddha’s relics and the Bo tree that the Buddha attained which Lithai King planted. These were attract the tourists and others travel to greet and worship. Besides, there were the other interested arts as Pratanporn Vihara, Former Abbot Vihara and Thai house pavilion.  The readiness of this temple as the art tourism source from the tourist’s opinion had found that there were the attractive things inside the temple, the route and the environment. There were high level as the whole in limitation welcoming tourist and tourist information service. The facilities both inside and surround the temple were in moderate level. The suggestion to develop the temple as the art tourism source for welcoming the tourists were 1) allot the area proportion 2) develop it as the practice dharma place 3) adjust the inside physical geography to be calm, shady and beauty 4) add up the direction signs to the temple 5) add up the information and signs for ancient remains and antiques inside the temple 6) adjust the back of the temple to be the culture road (former it was the front of the temple) 7) should be the dog management regulation 8) the related organizations have to support the budget to manage the temple.

Key words : Readiness of The Temple, Tourism Destination, Art Tourism Destination

Article Details

Section
-