ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและวิธีการแก้ปัญหาของ โพลยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พรทิพา หล้าศักดิ์
สมชาย วรกิจเกษมสกุล
ชาติชาย ม่วงปฐม

Abstract

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นรากฐานและวิธีการแก้ปัญหาของโพลยา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองคายวิทยาคม จังหวัดหนองคาย ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและวิธีการแก้ปัญหาของโพลายา คิดเป็นร้อยละ 76.40 และมีทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและวิธีการแก้ปัญหาของโพลยา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การแก้ปัญหาของโพลยา

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study and compare mathematical problem solving process skills of mathematics and compare the achievement of mathematics before and after learning though mathematics instructional based on problem-based learning and Polya’s mathematical problem-solving of Mathayomsuksa 2 students The samples group consisted of 43 students of Nongkhai Wittayakarn School, Muang District, Nongkhai Province, in the academic 2008 academic year. The instruments used for data collection were mathematics lesson, an achievement test and the mathematical problem solving process skills test. mean, percentage standard deviation and dependent sample t-test were used for data analysis.

The results of the research were as follows:

1.Mathematical problem solving process skills of the students learned through mathematics instructional activities based on problem-based learning and  Polya’s mathematical problem-solving process after learning was the mean score was 76.40 percent and significantly higher than prior at the .01 level. 2.The mathematics achievement of the students learned through mathematics instructional activities based on problem-based learning and Polya’s mathematical problem-solving process after learning was significantly higher than prior at the .01 level.

Key Word : Mathematics Instructional Activities, Problem-based Learning, Polya’s Mathematical Problem-solving

Article Details

Section
-