การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานสานด้วยกก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศิริวรรณ คามตะศิลา
พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์
ชาติชาย ม่วงปฐม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง  งานสานด้วยกก  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เพื่อทดลองใช้หลักสูตรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2551โรงเรียนบึงของหลงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3 จำนวน 32 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้    แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน  และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ  และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้     1)หลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง งานสานด้วยกก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น  ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  มีความเหมาะสมและองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน  2)นักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานสานด้วยกก  ที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 86.72  โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3)นักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง งานสานด้วยกกที่พัฒนาขึ้นมีทักษะการปฏิบัติงานเฉลี่ยร้อยละ 83.51  4)นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานสานด้วยกกที่พัฒนาขึ้นมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรท้องถิ่น, กก, งานสานด้วยกก

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to develop  and  study  the effects of implementing the local curriculum in occupational and technological subject area on Kok craft weaving  for Prathomsuksa 6  students.  The sample of  this study consisted of 32  Phathomsuksa 6 students of Buengkhonglongwittaya school  under  the  Office of  Nongkhai  Educational  Service  Area  3, the second semester of academic year 2008 They  were  selected  by  cluster random sampling.  The  research  instruments consisted  of  lesson  plans,learning achievement test,  practical skill test, and question means of  towards instruction. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation,  percentage and  dependent.The research results can be summarized as follows: 1)The developed local  curriculum in  occupational and technological subject area on Kok craft weaving for Prathomsuksa 6 students was suitable and congruent with curriculum components. 2)The posttest average score of the students learning through the local curriculum on Kok craft weaving was 86.72 percent and it  was significantly higher than the pretest mean score at the .01 level. 3)The mean score of  the performance  skills  of  the students taught  by  using  the local curriculum in occupational and technological subject area on Kok craft weaving was  83.51 percent. 4)The students’ satisfaction  towards the developed curriculum and activitation  was at the high level.

Key Words : Curriculum Development, Local Curriculum, Kok, Kok Craft Weaving

Article Details

Section
-