การทอเสื่อกกกับ “ทุน” ของชุมชนบางสระเก้าในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ภูริณัฐร์ โชติวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอการปรับตัวทางเศรษฐกิจของชุมชนบางสระเก้าในบริบทที่ชุมชนต้องเผชิญกับ
ความเปลี่ยนแปลงและวิกฤติทางเศรษฐกิจ โดยผู้เขียนได้นำเอาแนวคิดเรื่อง “รูปแบบของทุน” (The Forms of Capital) ของ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ มาใช้วิเคราะห์การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน นั่นก็คือ การทอ
เสื่อกก ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนาม “เสื่อจันทบูร” ผู้เขียนเสนอว่า 1) ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจชาวบ้านไม่ได้อาศัยเฉพาะ “ทุนทางเศรษฐกิจ”เพียงอย่างเดียว แต่อาศัย “ทุน” ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น “ทุนทางสังคม” “ทุนทางวัฒนธรรม” และ “ทุนทางสัญลักษณ์” และ 2) ภายใต้บริบทของความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความแตกต่างทางชนชั้นภายในชุมชนจะเห็นว่าชาวบ้านมีการปรับแปลงทุน (conversion) เพื่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจ เช่น การแปลง “ทุนทางสังคม” และ “ทุนทางวัฒนธรรม” ไปเป็น “ทุนทางเศรษฐกิจ” และ “ทุนทางสัญลักษณ์” และการแปลง “ทุนทางสัญลักษณ์” ไปเป็น “ทุนทางเศรษฐกิจ”

Reed Mat Weaving and “Capitals” of Bang Sakao Community in Chanthaburi

ABSTRACT

This paper aims to present the economic adaptation of Bang Sakao’s villagers in the context of economic change and crisis. In the paper, Pierre Bourdieu’s concept of “Forms of Capital” is used to analyze the villager’s economic activity, reed mat weaving, which is well known as “Chanthaboon mat” (เสื่อจันทบูร). The paper suggests that 1) in operating the economic activity of villagers they not only use “Economic Capital” but use the other types of Capital such as “Social Capital”, “Cultural Capital” and “Symbolic Capital”. 2) In the context of the economic change and class differences within community, villagers converse the capital for economic livelihood such as converse from “Social Capital” and “Cultural Capital” to “Economic Capital” and “Symbolic Capital” and converse “Symbolic Capital” to “Economic Capital”.

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)