รูปแบบการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็กและสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการตนเอง และการตรวจสอบและถ่วงดุล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 191 คน โดยการสุ่มแบบอย่างง่าย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และผู้เชี่ยวชาญทางการบริหารการศึกษาจำนวน 7 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.60-1.00 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบการกระจายอำนาจ มากที่สุด รองลงมา คือ องค์ประกอบการมีส่วนร่วม องค์ประกอบการบริหารจัดการตนเอง และองค์ประกอบการตรวจสอบและถ่วงดุล ตามลำดับ2) รูปแบบการการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ กระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการตนเอง และการตรวจสอบและถ่วงดุล ซึ่งแต่ละด้านมี 4 องค์ประกอบ คือ ตัวชี้วัด งาน/โครงการ/กิจกรรม พฤติกรรมที่ควรปรากฏ การประเมินผล
A Models of School-Based Management for Small Schools
in Buriram Province
ABSTRACT
The purposes of this research were to study a condition and to create models of school-based management of small schools under four aspects: decentralization, collaboration,self-management, and check and balance. The samples were 191 administrators of small schools gained by table of Krejcie and Morgan’s simple random sampling and Stratified Random Sampling. Seven experts in educational administration were selected to join to interview. The instruments used in this study were the questionnaire, created by the researcher with the value of reliability at 0.98, and interview the experts. The data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The results indicated as follows.1. The overall condition of school-based management was at high level. The aspect of decentralization was found the most followed by collaboration, self-management, and check and balance, respectively. 2. There are four aspects of school-based management: decentralization, collaboration, self-management, and check and balance. Each aspects consisted of four sections: indicators, activities, desirable behavior, and evaluation.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย