กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

วิษณุ บัวเทศ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยแบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างจำนวน 163 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 12 คน 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการยกร่างกลยุทธ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 21 คน และ 15 คน ตามลำดับ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน    9 คน และ 3) การประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น มี 9 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) เสริมแรงจูงใจให้กับครูช่างอุตสาหกรรม ให้มีการพัฒนาสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน อย่างต่อเนื่อง 2) เสริมสร้างความรัก ความผูกพันของครูช่างอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความศรัทธาและความรับผิดชอบในวิชาชีพครู 3) พัฒนาความสามารถในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของครูช่างอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเรียนรู้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 5) พัฒนาการจัดทำและบริหารแผนพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรม    6) พัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณในการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรม 7) พัฒนาการบริหารจัดการวัสดุในการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรม 8) พัฒนากระบวนการจัดการบริหารแผนพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรม และ 9) ปรับปรุงระบบและกลไกในการติดตามประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Strategy for Develop Industry Teachers Competency in the 21st Century of Lower Northern Rajabhat University

ABSTRACT

The purpose of this research is to create strategies for develop industry teachers competencies in the 21st Century of Lower Northern Rajabhat University by dividing research methodology in 3 steps which are 1) studing conditions of the problems and factors that affect the development of industry teachers’ competencies in the 21st Century by using questionnaire for 163 administrators and teachers of Lower Northern Rajabhat University and interview 12 administrators and teachers 2) analyzing the environment and drafting the strategies through workshops. The workshops are carried out 2 times with the related personnel with 21 and 15 attendees respectively and Connoisseurship seminars of 9 specialists and 3) evaluating the developed strategies of 20 specialists with the use of frequencies such as percentage, average, standard deviation and content analysis. The research found that : There are 9 developed strategies which are 1) to continuously reinforce and motivate industry teachers to develop core competencies and job competencies 2) build good relationship between the teachers to create faith and responsibilities for this field of work 3) continuously improve the ability for research and develop new innovations for the industry teachers 4) form a good network with various academic institutes both domestically and internationally 5) develop the creation and management of industry teachers’ competencies development plan 6) develop the management of budget for developing industry teachers’ competencies 7) develop the management of equipment needed to carry out the development of industry teachers’ competencies 8) develop the operations and process of developing industry teachers’ competencies 9) improve the system and mechanisms of industry teachers’ competencies assessments for effective results.

Article Details

Section
-