การจัดการความรู้บนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ในตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สิริวรรณ สิรวณิชย์
วรพรรณ ขาวประทุม
บุญล้อม ด้วงวิเศษ

Abstract

บทคัดย่อ

การจัดการความรู้บนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาบริบทและสังเคราะห์องค์ความรู้ชุมชนจากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนำมาพัฒนาเป็นบทเรียนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น โดยผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนด้วยความละเอียดอ่อน (Soft System Analysis : SSA) ซึ่งแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม อันได้แก่ (1) กลุ่มที่มาซึ่งองค์ความรู้ จากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มชนชาติพันธุ์ในเทศบาลตำบลคลองน้ำไหล (กลุ่มชาติพันธุ์ไททรงดำ, กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเหนือ) (2) กลุ่มผู้ใช้องค์ความรู้ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การค้นคว้าทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่วิจัยเพื่อทำการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่เพื่อสำรวจความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 3 สังเคราะห์องค์ความรู้จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนำมาพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน ขั้นตอนที่ 4 การค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการคืนความรู้ในชุมชน และขั้นตอนที่ 5 การนำบทเรียนท้องถิ่นไปพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่าบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรมในชุมชนคลองน้ำไหลมีความหลากหลาย มีประเพณี วัฒนธรรมเป็นจุดเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ในส่วนของบทเรียนท้องถิ่นได้จัดทำคู่มือการเรียนรู้ฉบับพกพา และนำไปขยายผลให้กับสถานศึกษาในชุมชนโดยให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนด้วย

Knowledge Management in Multicultural Community: A Case Study of Ethnic Groups in Klongnamlai  Subdistrict Municipality, Klonglan District, Kamphaeng Phet Province

ABSTRACT

The research “Knowledge management in multicultural community: A case study of ethnic groups in Klongnamlai  Subdistrict Municipality, Klonglan District, Kamphaeng Phet Province” aims to study the social context and synthesize knowledge based on multicultural community. The synthesis lesson from the local is developed to suit for student at basic education level and community level.  The Soft System Analysis : SSA is used to analyze the community. The target groups are divided into 2 groups which are 1) Knowledge source; local guru, 3 ethnic groups (Thai Song Dum, Karen and Thai Meuang Neua and 2) Knowledge user; 4 schools under the educational service office. The research methodology is divided into 5 steps; 1. Literature review 2. Data collection 3. Knowledge synthesizing 4. Local lesson format design 5. Local lesson application. The finding reveals that the knowledge gained from the local is based on cultural diversity in the areas. The people tranquilly live in mutual culture which linked between communities. The acquired knowledge are loaded in handbooks and extended for school by integrating in lesson plan for learning management of student teachers.

Article Details

Section
-