การเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบมีส่วนร่วมในการใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ปริญญาตรีในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการสอน (2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจในการเรียน ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for independent samples) และการทดสอบทีแบบหนึ่งกลุ่มตัวอย่าง (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบมีส่วนร่วมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ใน ระดับมาก
Experience and Participatory Learning in the Course of the Application of Statistics and Research of Undergraduate Students,
Nakhon Sawan Rajabhat University
ABSTRACT
The purposes of this research was to study behaviors and learning achievement of undergraduate before and after was learning by Experience and Participatory Learning Techniques. The sample used was 39 undergraduate students that study in 3rd year of bachelor of Educational Studies in Computer Education. The tools used consisted of (1) Study Plan, (2) Learning Assessment Form, (3) Achievement Test Form, and (4) Student Satisfaction Questionnaire. These tools were evaluated by experts. Statistics used to analyze the data were t-test for independent samples and t-test for one sample. The results showed that: 1) the learning behavior of students is at a high level, 2) the achievement were rather than before learning that was statistically significant at the 0.05 level, 3) the learning achievement of the samples that was learning by Experience and Participatory Learning Techniques were rather than the 60 percent that was statistically significant at the 0.05 level, and 4) the student satisfaction in learning is at a high level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย