แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โดยการศึกษาและสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างแนวทางและตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของแนวทางด้วยวิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 180 คน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ผลการสร้างคุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 7 ส่วน ดังนี้ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ของการพัฒนา (3) แผนงาน (4) ผู้ที่เกี่ยวข้อง (5) คุณลักษณะและตัวบ่งชี้ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะ ได้แก่ ตระหนักรู้อย่างชัดแจ้ง มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ไมตรีจิตมิตรสัมพันธ์ ให้ความสำคัญการบริการ ส่งผ่านอำนาจสู่ระดับล่าง และไว้วางใจต่อกัน รวม 67 ตัวบ่งชี้ (6) กระบวนการพัฒนา มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกำหนดความต้องการพัฒนา ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา ขั้นที่ 3 การเลือกเทคนิควิธีการ ขั้นที่ 4 การดำเนินการพัฒนาและ ขั้นที่ 5 การกำกับติดตามและประเมินผลแผนงาน (7) ผลที่ได้รับจากการพัฒนาโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเห็นว่า แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
The Guideline for Developing Servant Leadership of Secondary School Administrators
ABSTRACT
The main purpose of this research was to develop the guideline for developing servant leadership of secondary school administrators. The research methods comprised three steps as follows: 1. studying the traits of servant leadership for developing servant leadership of secondary school administrators through documentary analyses, and 12 experts interviews 2. creating the guideline for developing servant leadership of secondary school administrators through the connoisseurship on the proposed guideline in order to check and find out the appropriate guideline by 9 experts 3. assessing possibility and usefulness on the guideline for developing servant leadership of secondary school administrators through the questionnaires from 180 secondary school administrators. The results indicated that the guideline for developing servant leadership of secondary school administrators comprised of seven parts as follows: part 1 : principles; part 2 : purposes of development; part 3 : plans; part 4 : stakeholders; part 5 : traits and indicators including six traits of servant leadership as follows: trait 1 : awareness or realization, trait 2 : vision, trait 3 : friendliness and humility, trait 4 : service mind, trait 5 : empowerment, trait 6 : trust, and 67 indicators; part 6 : process for development including five steps as follows: step 1 : identifying needs for development, step 2 : planning for development, step 3 : selecting technics for development, step 4 : operating for development, step 5 : monitoring and assessing plans; and part 7: outcome from development. The guideline for developing servant leadership of secondary school administrators was assessed as high possibility and high usefulness.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย