แนวโน้มการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซีย

Main Article Content

ธิติมา เสาวยงค์
อัจฉรา ศรีพันธ์
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์นโยบายการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเหนือตอนล่างเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  2. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเหนือตอนล่างเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเหนือตอนล่างเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 วิเคราะห์นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนสายอาชีวศึกษา วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือตัวแทนผู้ใช้กำลังคนสายอาชีวศึกษาจำนวน 3 กลุ่ม คือ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด กลุ่มตัวแทนท่องเที่ยว ในเขตภาคเหนือตอนล่างทั้ง 9 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 27 คน และในวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ที่ใช้กำลังคนสายอาชีวศึกษา 2) กลุ่มผู้ที่ผลิตกำลังคนสายอาชีวศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่าในการเตรียมความพร้อมของกำลังคนสายอาชีวศึกษานั้นจะต้องมีคุณลักษณะเบื้องต้นใน 3 ประเด็น (1.1) ด้านความรู้ (Knowledge)  (1.2) ด้านทัศนคติ (Attitude) และ (1.3) ด้านทักษะ (Skill) ส่วนแนวโน้มในการพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษานั้น (2.1) นโยบายของการอาชีวศึกษาควรเป็นการจัดการด้านหลักสูตรโดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบระบบทวิภาคี (2.2) นโยบายการปรับวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของสถานศึกษา (2.3) นโยบายการผลิตเพิ่มกำลังคนสายอาชีวศึกษาในภาคธุรกิจในด้านการท่องเที่ยวเพราะธุรกิจด้านการท่องเที่ยว (2.4) นโยบายด้านการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นเฉพาะทางมากขึ้น และ (2.5) นโยบายในการส่งเสริมให้กำลังคนสายอาชีวศึกษามีความรู้และสามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายพบว่า (3.1) รัฐจะต้องมีการจัดการอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ (3.2) เน้นให้กำลังคนสายอาชีวศึกษาสามารถมีทักษะในการปฏิบัติงานได้จริง (3.3) จะต้องส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี (3.4) กำลังคนสายอาชีวศึกษาจะต้องมีความพร้อมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย และคุณธรรม (3.5) กำลังคนสายอาชีวศึกษาจะมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพของตนเอง (3.6) รัฐส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการและภาคเอกชนเข้าร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพให้กับกำลังคนสายอาชีวศึกษา และ (3.7) เสริมสร้างทักษะสำหรับการสื่อสารตลอดจนเทคโนโลยี

Trend in the Development of Vocational Education Man Power in the Field of Accountancy within the Lower Part of Northern Area as a Way to Support the AEC

ABSTRACT

This study aimed to study and analyze three main parts in the department of Commerce vocational certificate of the Southern or north to support  the Asean community ; policies : in vocational manpower development  to support ASEAN community ; the trend of developing vocational manpower  ; recommendations for developing vocational manpower there are more methodology will be applied firstly, the qualitative research (Qualitative research) will be used to analyze policy related to vocational manpower secondly the (In depth interview main group from the samples ; namely) : the Chamber province, the Provincial Federation of industry Group : and the Travel Agents in all of the nine in the Southern or north which counts for 27 people will be implemented. Finally focused group discussion among those who use manpower vocational and those who produce the capacity vocational in the southern or north will be used. The research found that there are three basic features knowledge attitude and skill in the preparation of manpower line. In the aspect of developing, it involves in a manpower vocational policy of vocational training should be organized curriculum by emphasizing on teaching a system of bilateral which a policy in adjusting the quality of education to be acceptable a policy to increase a manpower in the tine of a tourism a policy to development a more specialized curriculum, a policy to improve potential of manpower vocational in a command of foreign languages as a reality of the research, there are seven suggestions to develop the manpower vocation to support the Asian. Firstly, the government should support the vocational schools continued and consistency secondly, developing the curriculums which helps create a manpower to work potentially are needed thirdly, the government should encourage to private sector to participate more in the bilateral education system fourthly, the vocational manpower is need to prepare on the basis of accountability discipline and morality fifthly the manpower vocational should have a positive attitude towards their careers sixthly the government should support and increase a private sector in participation to improve education to help their develop manpower the potential of vocation finally, skills of the manpower vocation should improve the of communication and technology

Article Details

Section
-