ดนตรีประกอบการแสดงหุ่นกระบอก คณะแม่ชะเวง อ่อนละม้าย

Main Article Content

ภารดี เกิดวาระ
ประทีป นักปี่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องหุ่นกระบอกคณะแม่ชะเวง อ่อนละม้ายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกคณะแม่ชะเวง อ่อนละม้าย และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางดนตรีที่ใช้ในการแสดงหุ่นกระบอกรวมไปถึงศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของการแสดง โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และแผ่นบันทึกภาพเคลื่อนไหวของศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กรณีศึกษาเรื่องหุ่นกระบอกคณะแม่ชะเวง อ่อนละม้าย ผลของการวิจัย 1. ประวัติความเป็นมาเป็นหุ่นกระบอกที่ได้รับมรดกมาจากหุ่นกระบอกแม่บุญช่วย เปรมบุญ โดยเริ่มต้นมาจากบรรพบุรุษ คือ หุ่นตาเหน่ง หุ่นกระบอกที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงยุคของแม่ชะเวง อ่อนละม้าย ซึ่งเรื่องที่ใช้สอนส่วนใหญ่คือเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร เหตุที่ใช้ตอนนี้เพราะมีความสนุกสนาน มีมุกตลกที่หลากหลาย  ไม่น่าเบื่อ และเป็นตอนที่ได้รับความนิยมที่สุด 2. ลักษณะทางดนตรี วงดนตรีที่ใช้คือวงปี่พาทย์ มีซออู้ผสมเพื่อใช้บรรเลงเพลงสังขารา ส่วนเพลงที่ใช้สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือเพลงโหมโรง  เพลงประกอบการรับร้อง และเพลงหน้าพาทย์ 3. บทบาทหน้าที่ต่อสังคมในสองทาง คือการออกแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมหุ่นพื้นบ้านตามงานต่างๆ และสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ และสถาบันใกล้เคียง ในส่วนนี้เพื่อนเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการแสดงหุ่นกระบอกพื้นบ้าน ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อนศิลปะการแสดงหุ่นพื้นบ้าน

Music for the Puppetry of Chawang Onlamy

ABSTRACT

Thesis of music for puppetry of ChawangOnlamy aimed to study the history of ChawangOnlamy and to criticize the music in puppetry performance. In addition, this qualitative research was investigated the role of performance with the documentaries and memory cards from Cultural Center of NakhonSawanRajabhat University. In case study of puppetry of ChawangOnlamy, the result was 1. The history of puppetry. The puppetry was inherited from the puppetry of BunchouyPrembun. It was beginning from the predecessor, Ta Nheng’s puppetry, in reign of King Rama 5, to generation of ChawangOnlamy. Mostly, the lessons were “PhraAbhai Mani NheePheeSuaSamut’s chapter (the main character was escaping the giantess), in PhraAbhai Mani’s epic. The researcher chose this chapter because its story was ridiculous and had various joke. Moreover, it was the most famous chapter. 2. Characteristic of the instrument. The instrument was Thai classical ensemble or Pi Phat Band including the alto fiddle to perform Sung Ka Ra Song. Songs in the performance could divided into 3 groups; overture, song of the chorus and Na Phat Songs.3. The performance’s roles to the society had 2 ways; to road show the cultural puppetry to people and, the role of the institution in NakhonSawan and other institutions nearby, to persevered and inherited the puppetry. Both of them had important role to impel the cultural puppetry.

Article Details

Section
-