การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2. พัฒนารูปแบบเชิงสมมุติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือ 3. ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่างกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง 440 แห่ง และ 4. เพื่อศึกษาแนวทางในการนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่างไปประยุกต์ใช้ โดยการจัดสนทนากลุ่มจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน 6 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านชุมชน และคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 22 ตัว ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่างที่ศึกษาดังกล่าว มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติ ????2 = 559.21 df = 181 ????2/df = 3.08 CFI = 0.98 NFI = 0.97 NNFI = 0.98 SRMR = 0.078 RMSEA = 0.08 ตัวแปรปัจจัยต่างๆ สามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้ร้อยละ 90 โดยที่ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านหลักสูตร และปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ส่งอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง ในขณะเดียวกัน ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านชุมชน ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่างสำหรับปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาส่งอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านหลักสูตร และปัจจัยด้านชุมชน ส่วนปัจจัยด้านครูผู้สอนส่งอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านหลักสูตร อีกทั้งปัจจัยด้านชุมชนส่งอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ส่วนปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยด้านหลักสูตร
A Causal Model Development of Factors Affecting Quality of Education of Basic Education in Small Size Schools in the Lower Northern
ABSTRACT
This research aimed at developing a model of causal factors affecting the quality of basic education in small size schools in northern lower. 1. constructing a model of causal factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower 2. Checking the format of a model of causal factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower 3. Checking the consistency of a model of causal factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower and 4. studying the recommendations in using a model of causal factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower The research findings were as follows that the factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower consisted of 6 latent variables : administrators, management, teachers, Course , community and quality of basic education in small side schools in northern lower. These latent variables were measured by 22 observed variables.So that, the factors affecting the quality of basic education in small side schools in northern lower was consistent with the empirical data. The statistics ????2 = 559.21 df = 181 ????2 / df = 3.08 CFI = 0.98 NFI = 0.97 NNFI = 0.98 SRMR = 0.078 RMSEA = 0.08 is considered fair. The other variables in the model could explain the variation in the quality of basic education study area in northern lower by 90 percent of teachers, curriculum and management directly influenced on the quality of basic education study area in northern lower. At the same time School administrators, teachers and community indirectly influenced on the quality of basic education study area in northern lower. For school administrators directly influenced on teachers. Course management and communities of teachers directly influenced the course. And community directly influenced on management. The school administrators indirectly influenced on the management and curriculum.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย