เอกภาพทางเชื้อชาติ และแนวทางการสร้างชาติมาเลเซียของตนกูอับดุล ราห์มาน ค.ศ. 1951-1957

Main Article Content

สุรศักดิ์ สาระจิตร์

บทคัดย่อ

ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวมลายู จีน และอินเดียในมลายา เป็นหนึ่งในผลกระทบทางประวัติศาสตร์จากลัทธิอาณานิคมของอังกฤษและญี่ปุ่น ก่อนที่มลายาจะได้รับเอกราช รัฐบาลอังกฤษต้องการเห็นเอกภาพทางเชื้อชาติเกิดขึ้นในประเทศ ตนกูอับดุล ราห์มาน (1908 - 1990) นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย ได้สร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้นำทั้งสามเชื้อชาติภายในสหพรรค (Alliance Party) ซึ่งประกอบไปด้วยพรรคอัมโน (the United Malays National Organization - UMNO) พรรคเอ็มซีเอ (Malaysian Chinese Association) และพรรคเอ็มไอซี (Malaysian Indian Congress) ตนกูอับดุล ราห์มานมองว่าความร่วมมือเช่นนี้เป็นก้าวแรกที่แก้ไขความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ หลังจากมลายาได้รับเอกราชไปแล้ว บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะหาคำตอบว่า ก่อนที่มลายาจะได้รับเอกราช ตนกูอับดุล ราห์มานสร้างชาติมลายาอย่างไร และมีแนวคิดอย่างไรต่อการสร้างความเป็นเอกภาพทางเชื้อชาติระหว่างชาวมลายู จีน และอินเดีย


จากการศึกษาพบว่าก่อนที่สหพรรคจะก่อตั้ง ตนกูอับดุล ราห์มานต้องการมอบสิทธิและผลประโยชน์ให้แก่คนเชื้อชาติมลายูเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามลายาเป็นชาติของชาวมลายูอย่างไรก็ตามหลังจากที่สหพรรคก่อตั้งแล้ว บทบาทของตนกูอับดุล ราห์มานได้เปลี่ยนเป็นผู้นำที่สามารถไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ให้กับคนทุกๆ เชื้อชาติได้ บทบาทดังกล่าวนี้เห็นได้จากแนวคิดที่เขามองว่าการรวมตัวแบบชุมชนนิยมระหว่างพรรคอัมโน เอ็มซีเอ และเอ็มไอซีจะได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก และสามารถทำให้อังกฤษประกาศเอกราชแก่มลายาได้การศึกษาในหัวข้อนี้จึงมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจว่า ในขณะที่ความขัดแย้งทางเชื้อชาติยังคงดำรงอยู่ในมลายา ตนกูอับดุล ราห์มานจะสามารถสร้างความเป็นเอกภาพทางเชื้อชาติได้จริงหรือไม่ หลังจากที่มลายาได้รับเอกราชไปแล้วใน ค.ศ. 1957

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัชรินทร์ สวนฐิตะปัญญา. มาเลเซีย เอกภาพกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2541.

ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่เอเชียเล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: เพื่อนพิมพ์, 2539.

ลีโอนาร์ด วาย. อันดายา และ บาบารา วัตสัน อันดายา. ประวัติศาสตร์มาเลเซีย. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2557.

สีดา สอนศรี และคณะ. การเลือกตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิชาโทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2004.

ศรุติ สกุลรัตน์. ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของท่านผู้นำ. ชลบุรี: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.

Arkib Negara Malaysia. UCAPAN-UCAPAN TUNKU ABDUL RAHMAN PUTRA 1955 dan 1956. Kuala Lumpur: Heng Lee Stationery and Printing, 1979.

Cheah Boon Kheng. Malaysia: The Making of a Nation. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2002.

Esman, Milton Jacob. Administration and Development in Malaysia. New York, Cornell University Press, 1972.

Federal Constitution. Kuala Lumpur: Percetakan Nasional Malaysia Berhad, 2010.

Hickling, R. H. An Introduction to the Federal Constitution. Kuala Lumpur: The Federation of Malaya Information Services, 1960.

Khong Kim Hoong. Merdeka! British Rule and the Struggle for Independence Malaya, 1945-1957. Malaysia: Strategic Information Research Development, 1984.

Means, Gordon P. Malaysian Politics. New York: New York University Press, 1970.

Miller, Harry. Prince and Premier a Biography of Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj First Prime Minister of the Federation of Malaya. London: Harrap, 1959.

Sheppard, Mubin. Tunku: APictorial Biography, 1903-1957. Selangor: Pelanduk Publications, 1984.

Shome, Anthony. Malay Political Leadership. London: Routledge Curzon, 2002.

“UMNO CHIEF WANTS MORE MERGERS.” The Straits Times, September 28, 1952: 5.

“UMNO WILL EXPELL ONN IMPs.” The Straits Times, September 18, 1951: 1.

Vasil, Raj Kumar. Ethnic Politics in Malaysia. New Delhi: Radiant, 1980.

Von Vorys, Karl. Democracy without Consensus: Communalism and Political Stability in Malaysia. New Jersey: Princeton University Press, 1975.

Wang Gungwu ed. Nation-Building: Five Southeast Asian Histories. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005.

วรรณี พานำมา. บทบาทและความคิดทางการเมืองของตนกูอับดุลราห์มานกับขบวนการเรียกร้องเอกราชและการรวมชาติของมาเลเซีย ค.ศ. 1951-1970. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.

Chuleeporn Virunha. Visions of Independence in Malaya: 1945– 1955. M.A. thesis, University of New South Wales. 1980.

Lee Jae Hyun. UMNO Factionalism and the Politics of Malaysian National Identity. PhD thesis, Murdoch University. 2005.

Fernando, Joseph M. “Tunku Abdul Rahman, Charisma, and the Nationalist Movement in Malaya.” Studies Ethnicity and Nationalism, 11, No.3. (2001): 492-508.

Ishak bin Tadin.“Dato Onn and Malay Nationalism, 1946-1951.” Journal of Southeast Asian History, 1, No.1 (1960): 71-72.