ความสัมพันธ์ไทย-จีนในยามยาก คึกฤทธิ์ รัฐประหาร 6 ตุลา และธานินทร์ (ค.ศ. 1975-1977)

Main Article Content

สิทธิพล เครือรัฐติกาล

บทคัดย่อ

บทความนี้ชี้ให้เห็นความไม่ราบรื่นในความสัมพันธ์ไทย-จีนหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตโดยรัฐบาลคึกฤทธิ์เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1975 ทั้งนี้กระแสขวาจัดในการเมืองไทยช่วงกลางทศวรรษ 1970 ได้นำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 และการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลธานินทร์ซึ่งมีนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างสุดโต่งจนส่งผลทางลบต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน ผู้เขียนยังชี้ให้เห็นความพยายามของเอกอัครราชทูตไฉเจ๋อหมินในการผูกมิตรกับบุคคลสำคัญของไทยในระดับพระราชวงศ์และกองทัพอีกด้วย ทำให้เมื่อรัฐบาลธานินทร์หมดอำนาจลงหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1977 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็กลับมาดีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีการเดินทางเยือนกันและกันของผู้นำระดับสูงในปีถัดมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ. 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559.

กลุ่มนักข่าวการเมืองอักษรบัณฑิต. คึกฤทธิ์เปิดม่านไม้ไผ่. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต, 2518.

เกษมสโมสร เกษมศรี, ม.ร.ว. “วิจารณ์บทความเรื่อง ทรรศนะบางประการเกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ในการร่วมมือฉันมิตรระหว่างจีนกับไทย.” ใน ความสัมพันธ์ไทย-จีน เหลียวหลังแลหน้า, บรรณาธิการโดย เขียน ธีระวิทย์ และเจีย แยนจอง, 260-263. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

จุลชีพ ชินวรรโณ. 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: ความร่วมมือระหว่างกัลยาณมิตร 2518-2548. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ, 2549.

ปฐม มณีโรจน์. การปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน: ประมวลเอกสารสำคัญทางการเมืองระหว่าง 6 ตุลาคม - 22 ตุลาคม 2519, บรรณาธิการโดย สุนทร เกิดแก้ว. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตเอกสารประกอบการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2520.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 94 ตอนที่ 19 (11 มีนาคม 2520): 1-12.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 94 ตอนที่ 97 (19 ตุลาคม 2520): 3-16.

พวงทอง ภวัครพันธุ์. การต่างประเทศไทยในยุคสงครามเย็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

ยศ สันตสมบัติ. อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล (บรรณาธิการ). พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข: พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2541.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. มิตรภาพไทย-จีนชื่นมื่น ด้วยเทพรัตน์ทรงช่วยส่งเสริม. ใน ความสัมพันธ์ไทย-จีน เหลียวหลังแลหน้า, บรรณาธิการโดย เขียน ธีระวิทย์ และเจีย แยนจอง, 24-42. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

สัมฤทธิ์ มีวงศ์อุโฆษ (บรรณาธิการ). ปฏิทินข่าวและเหตุการณ์ในประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามบรรณ จำกัด, 2533.

สารสิน วีระผล. ความสัมพันธ์ไทย-จีน: กระแสพัฒนาการบนความขัดแย้งในภูมิภาคจากห้วงสองทศวรรษ (ค.ศ. 1975-1995). ใน จีน-ไทยในศตวรรษที่ 21, บรรณาธิการโดย วรศักดิ์ มหัทธโนบล, 290-307. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2542.

สุดาพร หาญไพบูลย์. “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2518-2528.” สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529.

อานันท์ ปันยารชุน. ปาฐกถาพิเศษ. ใน ความสัมพันธ์ไทย-จีน เหลียวหลังแลหน้า, บรรณาธิการโดย เขียน ธีระวิทย์ และเจีย แยนจอง, 7-23. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

เกาถง. เว่ยไท่กั๋วโหย่วอี้เทียนจวนเจียหว่า อี้เสิ้นผิงชูสื่อไท่กั๋วซู่ซื่อ (ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อมิตรภาพจีน-ไทย การรำลึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ สมัยเสิ่นผิงเป็นทูตประจำประเทศไทย). ใน ตางไต้จงกั๋วสือเจี๋ยว่ายเจียวเซิงหยา ตี้สื้อจี๋ (ชีวิตของนักการทูตจีนร่วมสมัย เล่มที่ 4), 61-76. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ความรู้โลก, 1996.

คณะกรรมการหนังสือชุดเอกอัครราชทูตจีน. เอกอัครราชทูตยุคสาธารณรัฐ (ก้งเหอกั๋วต้าสื่อ). หางโจว: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง, 2009.

หยางเซิ่งชิง. ไฉเจ๋อหมิน เอกอัครราชทูตจีนใหม่คนแรกประจำสหรัฐอเมริกา (ซินจงกั๋วโส่วเริ่นจู้เหม่ยต้าสื่อไฉเจ๋อหมิน). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ประวัติศาสตร์พรรค, 2009.

เหลิ่งหรง และวังจั้วหลิง (บรรณาธิการ). เติ้งเสี่ยวผิงเหนียนผู่: 1975-1997 (กาลานุกรมเติ้งเสี่ยวผิง ค.ศ. 1975-1997). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์เอกสารศูนย์กลางพรรค, 2007.

อวี๋ติ้งปัง และเฉินซู่เซิน. จงไท่กวานซี่สื่อ (ประวัติความสัมพันธ์จีน-ไทย). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์จงหัว, 2009.

อู๋เต๋อกว่าง. หลี่ปินอี้ซื่อ (เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกรมพิธีการทูต). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ไชน่าอินเตอร์คอนติเนนตัล, 2017.

Document 228: New Year’s Day editorial of the “Voice of the People of Thailand,” 1 January 1977 (Extracts). In China and Thailand, 1949-1983, edited by R. K. Jain, 211. New Delhi: Radiant Publishers, 1984.

Document 232: Peking Review report on discussions between Chairman Hua Kuo-feng and former Prime Minister Kukrit Pramoj, 13 October 1977. In China and Thailand, 1949-1983, edited by R. K. Jain, 213. New Delhi: Radiant Publishers, 1984.

Embassy Bangkok. “Unprecedented Number of Thai Military Attend PRC.” Wikileaks Cable: 1977BANGKO16968_c. Dated August 2, 1977, https://wikileaks.org/plusd/cables/1977BANGKO16968_c.html.

Embassy Bangkok. “PRC Ambassador Ch’ai Tse-Min.” Wikileaks Cable: 1978BANGKO133331_d. Dated May 10, 1978, https://wikileaks.org/plusd/cables/1978BANGKO13331_d.html.

Lockhart, Bruce McFarland. “Monarchy in Siam and Vietnam, 1925-1946.” PhD diss., Cornell University, 1990.

Montri Chenvidyakarn. “Thai Press Coverage of China since the Normalization of Sino-Thai Relations in 1975.” Research paper presented at the Conference on “Communication and China’s External Affairs” at the Communication Institute, East-West Center, Honolulu, Hawaii, January 6-12, 1980.