แสงไฟ ความมืด และความกลัวในเรื่องผีของเหม เวชกร (ปลายทศวรรษ 2470 ถึงต้นทศวรรษ 2510)

Main Article Content

พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ

บทคัดย่อ

แสงไฟจากกระแสไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทำให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 แสงไฟส่องสว่างให้กับทั้งพื้นที่ทางกายภาพและทางปัญญาที่มืดมิด อย่างไรก็ตาม แสงไฟก็ยังคงกระจุกตัวอยู่ตามพื้นที่เมืองและเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเท่านั้น ทำให้บางพื้นที่ยังคงอยู่ในความมืดมิด พื้นที่อับแสงไฟเหล่านี้จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ทันสมัยทั้งในทางกายภาพและความคิด ซึ่งแสดงให้เห็นความไม่สมบูรณ์ของโครงการทำให้ทันสมัยในสยาม/ไทย เรื่องผีของเหม เวชกร ที่เผยแพร่ในช่วงปลายทศวรรษ 2470 ถึงต้นทศวรรษ 2510 เลือกใช้พื้นที่ชนบทที่ยังคงมืดมิดและพื้นที่อับแสงที่อยู่ใกล้และในเมืองพระนครเป็นฉากในการเล่าความกลัวของผู้คนและการปรากฏกายของผี สิ่งที่ความทันสมัยต้องการกำจัดให้หมดไป ไม่ว่าจะเป็นไปผี ความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ สภาวะนอกกฎหมาย ยังคงดำรงอยู่ในพื้นที่อับแสงไฟ แสงไฟที่สร้างความสว่างจึงสร้างเงาเป็นความมืดทิ้งไว้ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เหม. ผี!!. พระนคร: เพลินจิตต์, 2478.

_______. ผี! เรื่องของเหม. พระนคร: คณะเหม, 2479.

เหม เวชกร. ปิศาจของไทย. กรุงเทพฯ: วิริยะ, 2546 (2509).

_______. วิญญาณที่เร่ร่อน. กรุงเทพฯ: วิริยะ, 2545 (2509).

_______. ผู้ที่ไม่มีร่างกาย. กรุงเทพฯ: วิริยะ, 2547 (2510).

_______. ผู้มาจากเมืองมืด. กรุงเทพฯ: วิริยะ, 2546 (2511).

_______. ใครอยู่ในอากาศ. กรุงเทพฯ: วิริยะ, 2547 (2512).

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น. ปัตตานี: ปาตานี ฟอรั่ม, 2561.

ครูเหม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานเพลิงศพ นายเหม เวชกร ณ เมรุสุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส, วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2512. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์, 2512.

ทิพากรณ์วงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ. พระนคร:องค์การคุรุสภา, 2514.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, บรรณาธิการ. ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย. กรุงเทพฯ: ศยาม, 2560.

พลตระเวน. ศิลปินเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. นครไทย, 2494?. ฟ้าเมืองไทย. ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 (2512).

วีระยุทธ ปีสาลี. กรุงเทพฯ ยามราตรี. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

สุภาสินี จรูญโรจน์, หม่อมหลวง, ผู้ตรวจตราดูแลต้นฉบับ. แด่ เหม เวชกร จิตรกรและนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของไทย. กรุงเทพฯ: ปาปิรัส, 2535.

อนุสรณ์ เหม เวชกร. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พระนคร, 28 กันยายน พ.ศ. 2512.

อเนก นาวิกมูล. นักวาดชั้นครู. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊ค, 2545.

ศรันย์ ทองปาน. “เหม เวชกร จิตรกรไร้สำนักเรียน ช่างเขียนนอกสถาบัน.” สารคดี, ปีที่ 16 ฉบับที่ 188 (ตุลาคม 2543): น. 134-155.

วิภารัตน์ ดีอ่อง. “พัฒนาการของกิจการไฟฟ้าในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2427-2488.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.

Beaumont, Matthew. Nightwalking: A Nocturnal History of London. London; New York: Verso, 2015.

McMahon, Darrin M. “Illuminating the Enlightenment: Public Lighting Practices in siècle des Lumières,” Past and Present, No. 240 (August 2018): pp. 119-159.

Nattika Navapan. “Absolute monarchy and the development of Bangkok's urban spaces”. Planning Perspectives, Vol. 29, No. 1 (2014): pp. 1-24.

Thongchai Winichakul. “The Quest for "Siwilai": A Geographical Discourse of Civilizational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Siam.” The Journal of Asian Studies, Vol. 59, No. 3 (August 2000): pp. 528-549.

Subrahmanyan, Arjun. “Reinventing Siam: Ideas and Culture in Thailand, 1920-1944.”PhD dissertation, University of California, Berkeley, 2013.

Beaumont, Matthew. “The heart of darkness that still beats within our 24-hour cities.” The Guardian. Accessed May 2, 2019. https://www.theguardian.com/culture/2016/aug/14/london-night-street-lighting-24-hour-city.