จากพงศาวดารสู่ประวัติศาสตร์ประเทศไทย: การเดินทางและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำไทย ทศวรรษ 2370 - 2460

Main Article Content

นพปฎล กิจไพบูลทวี

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำไทยในช่วงทศวรรษ 2370 ถึงทศวรรษ 2460 ชนชั้นนำปลายรัชกาลที่ 3 มีความคิดที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองแบบประจักษ์นิยม จึงอาศัยการเดินทางเป็นวิธีสืบหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์พงศาวดาร การเลือกใช้พงศาวดารเป็นต้นแบบเพื่อสืบค้นหลักฐานผ่านการเดินทาง ทำให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำไทยไม่สามารถออกจากแนวคิดที่เน้นกษัตริย์เป็นศูนย์กลางได้ เพราะข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามหลักวิธีดังกล่าวได้กลายเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่กำหนดมุมมองชั้นนำไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นาฏวิภา ชลิตานนท์. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพ: มติชน, 2553.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. จดหมายเหตุระยะทางเสด็จหัวเมืองเหนือ: พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษามคธ เมื่อเสด็จธุดงค์ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2376. พระนคร: โสภณพิพรรฒนากร, 2468.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. “เรื่องพระปฐมเจดีย์.” ใน เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจชำระใหม่และการบูรณะและปฎิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์. งานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 23 มีนาคม 2528.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฌธนากร, 2471.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค. พระนคร: คุรุสภา, 2504.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพ: มูลนิธิพชรรัตน-สุวัทนา, 2559.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. “ท้าวแสนปม.” ใน ชนชาติไทย: ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามและชาติพันธุ์วิทยา. บรรณาธิการโดย จิรวัฒน์ วรชัย, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา จำกัด, 2562.

พิชญา สุ่มจินดา. ถอดรหัสพระจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

พิริยะ ไกรฤกษ์. จารึกพ่อขุนรามคำแหง: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ, กรุงเทพ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง, 2532.

โลรองท์ เอนเกง. “งานศึกษาเรื่องนครปฐมจากเอกสารฝรั่งเศส.” ใน นครปฐมศึกษาในเอกสารฝรั่งเศส: รวมบทความแปล. บรรณาธิการโดย กรรณิกา จรรย์แสง. นครปฐม: ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. พงษาวดารเหนือลิลิต. พระนคร: โรงพิมพ์ไทย, 2453.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. “เรื่องพระปฐมเจดีย์.” ใน เรื่องพระปฐมเจดีย์กรมศิลปากรตรวจชำระใหม่และการบูรณะและปฎิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์. งานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 23 มีนาคม 2528.

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฌ ธนากร, 2469.

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. “เที่ยวมณฑลเพ็ชรบูรณ์.” ใน เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค 1-5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2550.

สายชล สัตยานุรักษ์. “ประวัติศาสตร์การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลัก.” ใน จินตนการความเป็นไทย, บรรณาธิการโดย กฤตยา อาชวนิจกุล, นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.

สุนทรภู่. นิราศวัดเจ้าฟ้า, พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2465.

สุนทรภู่. โคลงนิราสสุพรรณ, พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2467.

หลวงจักรปาณี (ฤกษ์). นิราศทวาราวดี, พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2469.

ประภาศิริ. “บันทึกสืบหา ‘สยาม’.” วารสารศิลปากร 1, ฉ. 2 (มิถุนายน, 2491): 42.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. “สมาคมสืบสวนของบุราณในประเทศสยาม.” วารสาร ศิลปากร 12, ฉ. 2 (กรกฎาคม 2511): 42-46.

สมเด็จฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงส์วรเดช. “เรื่องไซรโยคเปนอย่างไร." วชิรญาณวิเศษ 4, ฉ. 14 (วันที่ 5 เดือน 2 แรม 15 ค่ำ จ.ศ. 1250).

Maurizio Peleggi. “From Buddhist Icons to National Antiquities: Cultural Nationalism and Colonial Knowledge in the Making of Thailand's History of Art.” Modern Asia Studies 47, no. 5 (2013): 1502-1548.

กรณรงค์ เหรียนระวี. “อำนาจขององค์ความรู้ในงานวาทกรรมทางประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีขอมในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.