แนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

Main Article Content

ภควุฒิ ทวียศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามผ่านกรณีศึกษาอุตสาหกรรมฟอกหนังไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจจากช่วงวิกฤตในสงครามไปสู่ภาวะหลังสงคราม จึงกลายเป็นคำถามสำคัญของรัฐบาลรอยต่อ (พ.ศ. 2487 - 2490) ที่ขึ้นมาหลังการสิ้นสุดสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามระยะที่หนึ่ง (พ.ศ. 2481 - 2487) ว่าจะยังคงใช้นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจแบบผูกขาดโดยให้รัฐเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนในช่วงสงครามที่ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง หรือจะปรับเปลี่ยนไปสู่นโยบายทุนนิยมเสรี โดยช่วงเวลาดังกล่าวนโยบายของรัฐต่ออุตสาหกรรมฟอกหนังเห็นได้ว่ามีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการไปเป็นลักษณะบริษัทการค้า จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และการขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งของจอมพล ป. พิบูลสงครามระยะที่ 2 (พ.ศ. 2491 - 2500) ท่ามกลางปัจจัยและบริบทภายนอกที่เข้ามาโน้มน้าวและผลักดันให้รัฐไทยเปิดรับทุนนิยมเสรีจากตะวันตก อย่างไรก็ดี นโยบายทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามระยะที่สองก็ยังไม่อาจหลุดพ้นไปจากแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้อุตสาหกรรมภายในประเทศตกมาอยู่ในมือของคนไทย แต่ก็เปิดรับเงินทุนสนับสนุนจากฟากทุนนิยมเสรี จึงมีลักษณะเป็นดั่งภาวะลูกครึ่งเชิงนโยบาย ผู้วิจัยจึงขอเสนอว่า ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการใช้นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจแบบกึ่งทุนนิยมเสรี โดยมีลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องไปถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2490 รวมทั้งในภาคอุตสาหกรรมของรัฐบาลก็มีความพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมฟอกหนังโดยรัฐตลอดช่วงจอมพล ป. พิบูลสงครามระยะที่สอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารชั้นต้น

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระบรมราชโองการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม74 วันที่ 16 กันยายน 2500.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม บก.สส. 1/228 เรื่องบันทึกการประชุมเรื่องโรงงานฟอกหนัง ผบ.ทหารสูงสุดสั่งให้กะซวง(กระทรวง)อุตสาหกรรมมอบกิจการควบคุมโรงงานฟอกหนังให้แก่กะซวง(กระทรวง)กลาโหมดำเนินการ (11 - 17 กันยายน 2485).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม บก.สส. 1/483 เรื่องให้ประธานกัมการควบคุมสมรรถภาพและวินัยข้าราชการ สอบสวนพลึกติการณ์เกี่ยวแก่ นายอาบ อินทกนก ม.ล.ฉายชื่น กำพู และบันจุคนทำงานโรงงานสบู่และโรงฟอกหนังและคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (30 ตุลาคม - 20 ธันวาคม 2486).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม บก.สส. 1.11/6 เรื่องการยึดโรงงานฟอกหนังกับเรื่องการควบคุม, ถอนการยึด, การควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม (3 กรกฎาคม 2485 - 14 กันยายน 2486).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร0201.22.1/3 เรื่องความเห็น ดร.กูลย์เกี่ยวด้วยค่าครองชีพ และเงินเฟ้อ ฯลฯ (13 พฤษภาคม 2492 - 19 พฤศจิกายน 2495).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร0201.22.1/5 เรื่องสถานที่ทำการสภาเศรษฐกิจ (29 กรกฎาคม 2492).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22/18 เรื่องการจัดทำรายงานสำรวจเศรษฐกิจของประเทศไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ (13 มกคราคม 2491 - 24 สิงหาคม 2492).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.2/20 เรื่องกรรมการพิจารณางานอุตสาหกรรมของรัฐบาล (14 กุมภาพันธ์ 2482 - 12 สิงหาคม 2492).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.2/62 เรื่องหาทางให้โรงงานอุตสาหกรรมตกมาอยู่ในมือคนไทย (20 ธันวาคม 2494 - 5 มีนาคม 2496).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.2.12/1 เรื่องโรงงานฟอกหนังกะซวงกลาโหม (17 เมษายน 2484 - 9 กรกฎาคม 2489).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.2.12/5 เรื่ององค์การหรือโรงงานฟอกหนังของกระทรวงการอุตสาหกรรม (18 กันยายน 2490 - 15 ธันวาคม 2496).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.4/3 เรื่องกรรมการพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจของชาติหลังสงคราม (14 สิงหาคม 2487 - 12 ตุลาคม 2488).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.4/7 เรื่องกำหนดการประชุมและระเบียบวาระการประชุมกรรมการพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจ (18 มีนาคม 2487 - 27 มีนาคม 2488).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สร0201.22.4/17 เรื่องหนังสัตว์และโรงงานฟอกหนัง (25 กันยายน 2487 - 30 พฤษภาคม 2488).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม อก0201.2.1/31 เรื่องสำรวจกิจการอุตสาหกรรม (2502 - 2503).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม อก0201.2.1/105 เรื่องนโยบายการอุตสาหกรรม(มท.) (2499).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม อก0201.2.2.6/1 เรื่องอนุกรรมการพิจารณาผังเมืองนครหลวงกรุงเทพฯ (2509 - 2511).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม อก 0201.6/3 เรื่องโครงการที่จะสร้างและขยายโรงงานอุตสาหกรรม (2495).

หนังสือและบทความในหนังสือ

กรมการอุตสาหกรรมทหาร. รายงานประจำปีกรมการอุตสาหกรรมทหาร. กรุงเทพฯ: กรมการอุตสาหกรรมทหาร, 2506.

จี วิลเลียม สกินเนอร์. สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์และคณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.

พรรณี บัวเล็ก. จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นกับพัฒนาการทุนนิยมไทย : ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1-2 (พ.ศ. 2457-2484). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2540.

สมบัติ จันทรวงศ์, และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อยู่เมืองไทย : รวมบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.

สมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนัง. อุตสาหกรรมฟอกหนังไทยพัฒนาควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม. สมุทรปราการ: สมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนัง, 2536.

สังศิต พิริยะรังสรรค์. ทุนนิยมขุนนางไทย (พ.ศ. 2475-2503). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.

สุธี ประศาสน์เศรษฐ. “ระบบทุนนิยมโดยรัฐในประเทศไทย ค.ศ.1932 - 1959.” ใน วิวัฒนาการทุนนิยมไทย, บรรณาธิการโดย ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกลุ่มเศรษฐศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.

อภิชาต สถิตนิรามัย. รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ : จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

เว็บไซต์

กรมการอุตสาหกรรมทหาร. “ประวัติกรมการอุตสาหกรรมทหาร.” กรมการอุตสาหกรรมทหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564. https://did.mod.go.th/InformationUnit/HistoryDID.aspx.

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498.” สถาบันนิติบัญญัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2560. http://drmlib.parliament.go.th.

คลังสารสนเทศสถาบันนิติบัญญัติ. “พ.ร.บ.ส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2497.” สถาบันนิติบัญญัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/13773