สุริยุปราคา พ.ศ. 2411: ข้อพิจารณาว่าด้วยหลักฐานและประวัติศาสตร์นิพนธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาเอกสารหลักฐานร่วมสมัยของไทยที่เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาเมื่อปี 2411 มีข้อมูลซึ่งระบุเรื่องรัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่สองปีก่อนหน้านั้น บทความจึงพยายามตรวจสอบว่าข้อสนเทศนี้สอดคล้องกับหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ เพียงใด ทั้งยังพบว่า หลักฐานของไทยให้ความสำคัญกับการบันทึกเวลาการเกิดสุริยุปราคา ซึ่งน่าจะโยงกับความใส่พระทัยเรื่องการคำนวณให้แม่นยำของรัชกาลที่ 4 แนวโน้มการสนใจประเด็นดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์นิพนธ์ของเหตุการณ์นี้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์สุริยุปราคาล่วงหน้าเป็นแนวปฏิบัติปกติในศตวรรษที่ 19 รวมถึงการระบุเส้นทางคราสกับบริเวณที่จะสังเกตปรากฏการณ์ นักดาราศาสตร์ตะวันตกในช่วงเวลานั้นมีศักยภาพที่จะพยากรณ์สุริยุปราคาเช่นกันและความแพร่หลายของ almanac ทำให้อุปราคาไม่ใช่เรื่องลี้ลับอีกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
หนังสือและบทความในหนังสือ
คุก, เนริดา. “ปูมนคราสองสดมภ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับโหราศาสตร์ไทยในรุ่งอรุณแห่งความเป็นสมัยใหม่.” ใน พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่, บรรณาธิการโดย สิกขา สองคำชุม, 114-148. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562.
ทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔. กรงุเทพฯ: บริษัท ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (๒๐๐๖) จำกัด, 2563.
ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. “นิทรรศการเอกสารพระเจ้ากรุงสยามและเซอร์จอห์น เบาว์ริง.” ใน พระเจ้ากรุงสยาม กับ เซอร์จอห์น เบาว์ริง, บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กัณฐิกา ศรีอุดม, 2-43. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.
ประชุมพงศาวดารภาค 19. พิมพ์ครั้งที่ 2. [ม.ป.ท.]: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2463.
ภูธร ภูมะธน. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: จากความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน), 2545.
ลอย ชุนพงษ์ทอง. “ความลับของสุริยุปราคาที่หว้ากอ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411.” ใน พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่, บรรณาธิการโดย สิกขา สองคำชุม, 194-216. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562.
วรพล ไม้สน. “วิเคราะห์การคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากเอกสารร่วมสมัย.” ใน พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่, บรรณาธิการโดย สิกขา สองคำชุม, 218-310. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562.
สิกขา สองคำชุม, บรรณาธิการ. พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562.
Bradley, William Lee. Siam Then : The Foreign Colony in Bangkok before and after Anna. 1st edition. Pasadena CA: William Carey Library, 1981.
Orchiston, Wayne and Orchiston, Darunee. “King Rama IV and French Observations of the 18 August 1868 Total Solar Eclipse from Wah-Koa, Siam.” In The Emergence of Astrophysics in Asia: Opening a New Window on the Universe, edited by Tsuko Nakamura and Wayne Orchiston, 291-317. Springer International Publishing, 2017.
หนังสือออนไลน์
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 7. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2466. https://vajirayana.org/ประชุมประกาศรัชกาลที่-๔-ภาค๗.
เว็บไซต์
เสรี พงศ์พันธุ์ภาณี. “บทรีวิวหนังสือ พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่.” Illuminationseditions. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม 2563 https://www.illuminationseditions.com/article/24/บทรีวิวหนังสือ-พระจอมเกล้าฯพระจอมเ-ความย้อนแย้งของ-“ดาราศาสตร์”-กับ-“โหราศาสตร”-ในสังคมไทยสมัยใหม่.