กำเนิด “การ์ตูนไทยรูปแบบใหม่”: การผสมผสานทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

Main Article Content

วรพร วัชชวัลคุ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษาการก่อร่างของ “การ์ตูนไทยรูปแบบใหม่” ภายใต้บริบทเศรษฐกิจ-สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ในช่วงทศวรรษที่ 2510 - 2530 การก่อร่างของการ์ตูนไทยรูปแบบใหม่เริ่มขึ้นเมื่อศิลปินไทยเริ่มเปิดรับอิทธิพลและรูปแบบการเขียนการ์ตูนจากการ์ตูนญี่ปุ่น ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ ทำให้การผลิตมังงะ (หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น) แปลไทยไม่สามารถลอกลายได้โดยง่าย แต่จำเป็นต้องมีการวาดขึ้นใหม่บางส่วน ซึ่งกระบวนการวาดใหม่นี้ทำให้ศิลปินไทยต้องเรียนรู้ทักษะการวาดแบบมังงะจนทำให้เกิดการเปิดรับรูปแบบการวาดแบบมังงะ ศิลปินไทยจำนวนหนึ่งเริ่มต้นจากการเป็นเยาวชนผู้อ่าน และถูกทาบทามเข้าสู่กระบวนการผลิตมังงะแปลไทยผ่านการเข้าร่วมการประกวดวาดภาพจากทางบ้าน ในเวลาต่อมาผู้ผลิตได้เริ่มตีพิมพ์การ์ตูนผลงานของผู้อ่านในนิตยสารมังงะแปลไทย ก่อนจะเริ่มตีพิมพ์นิตยสารการ์ตูนไทยในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ทั้งนี้การเกิดขึ้นของมังงะแปลไทยและอิทธิพลของมังงะที่มีต่อการ์ตูนไทยนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่น่าประหลาดใจ หากพิจารณาบริบทเศรษฐกิจ-สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย มังงะเป็นเพียงหนึ่งในสินค้าญี่ปุ่นจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดไทย การเกิดขึ้นของมังงะแปลไทย และการก่อร่างของการ์ตูนไทยรูปแบบใหม่ เกิดในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนและมีบทบาทสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของไทย นอกจากนี้การ์ตูนญี่ปุ่นยังสามารถครองใจกลุ่มผู้อ่านเยาวชน จากการปรากฏในสื่อและสินค้าที่หลากหลายจนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเยาวชนไทย นำมาสู่การเปิดรับการวาดการ์ตูนแบบมังงะ และพัฒนาไปสู่การผสมผสานทางวัฒนธรรม จนเกิดขึ้นเป็นการ์ตูนไทยรูปแบบใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิตยสารและนิตยสารออนไลน์

คาเสะ ทีม, และ นฤมล อยู่นาน. “ไบโอรอยด์ ฮันเตอร์.” Boom, 2538, 43-63.

ทรงชัย ธรรมรัตนางกูร. “ปีศาจเพื่อนซี้.” ไทยคอมมิค, ตุลาคม 2535, 79-128.

ไทยคอมมิค, ตุลาคม 2535.

หนังสือพิมพ์

Asahi Shimbun, May 7, 1980. quoted in F. L. Schodt. Manga! Manga!: The World of Japanese Comics. New York: Kodansha USA, 2012.

วิทยานิพนธ์

จรรยา เหลียวตระกูล. “พัฒนาการของภาพยนตร์การ์ตูนนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.,.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61607.

สุวรรณา สันคติประภา. “พฤติกรรมการอ่านและการเลือกอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ของเด็กไทยในกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532. https://www.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=198925.

อัจฉราพร แสนอาทิตย์. “การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น พ.ศ.2515-2527.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:104535.

Aoyama, Izumi. “Doraemon come to Thailand : The process of appropriating a foreign cultural product.” Master’s thesis, Thai Studies Faculty of Arts Chulalongkorn University, 2006. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13215.

Thipakorn, Saikaew. “Japan's Cultural Policy in Thailnad, 1970s-1980s.” PhD diss., Thai Studies Faculty of Arts Chulalongkorn University, 2013. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52068.

สัมภาษณ์

ทวีพัตน์ คงคะศิลป์. สัมภาษณ์โดย วรพร วัชชวัลคุ, Dao Coffee Shop สยามสแควร์วัน, 17 พฤศจิกายน 2563.

เอกสิทธิ์ หนุนภักดี. สัมภาษณ์โดย วรพร วัชชวัลคุ, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้น 3 ตึกนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 12 พฤศจิกายน 2563.

เว็บไซต์

“หนูเล็ก ลุงโกร่ง ตอน ดงหมอผี (ขายตามสภาพ).” ลุงทอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564. https://www.lungthong.com/product/8511/หนูเล็ก-ลุงโกร่ง-ตอน-ดงหมอผี-ขายตามสภาพ.

kamoman.com (@kamoman.com). “การ์ตูนคุณภาพต้องยี้ห้อ ท๊อป การ์ตูน นะจ๊ะ.” เฟซบุ๊ก, 9 มกราคม 2564. https://www.facebook.com/ToysMemory/posts/2221747227959933.

kamoman.com (@kamoman.com). “ยอดนิยายภาพจากทีวี ยอดมนุษย์ตาทอง ผลงาน ปอล.” เฟซบุ๊ก, 5 พฤศจิกายน 2562. https://www.facebook.com/media/set/?vanity=ToysMemory&set=a.1773755869425740.

kamoman.com (@kamoman.com). “หายไปนานเลยก่อนไปรับลูกเอาการ์ตูนเด็กเล่มที่ 9 ไปอ่านกันครับ.” เฟซบุ๊ก, 26 มิถุนายน 2557. https://www.facebook.com/media/set/?vanity=ToysMemory&set=a.490409977760342.

kamoman.com (@kamoman.com). “เอาหนังสือมาประมูลเพื่อช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลลูกสาวพี่ แดน ครับ.” เฟซบุ๊ก, 30 กันยายน 2557. https://www.facebook.com/media/set/?vanity=ToysMemory&set=a.547698558698150.

The Office of the United States Trade Representative. 1991 Special 301 Report. Washington, D.C.: The Office of the U.S. Trade Representative, 1991. https://ustr.gov/sites/default/files/1991%20Special%20301%20Report.pdf.

The Office of the United States Trade Representative. 1992 Special 301 Report. Washington, D.C.: The Office of the U.S. Trade Representative, 1992. https://ustr.gov/sites/default/files/1992%20Special%20301%20Report.pdf.

The Office of the United States Trade Representative. 1993 Special 301 Report. Washington, D.C.: The Office of the U.S. Trade Representative, 1993. https://ustr.gov/sites/default/files/1993%20Special%20301%20Report.pdf.

The Office of the United States Trade Representative. 1994 Special 301 Report. Washington, D.C.: The Office of the U.S. Trade Representative, 1994. https://ustr.gov/sites/default/files/1994%20Special%20301%20Report.pdf.

The Office of the United States Trade Representative. 1995 Special 301 Report. Washington, D.C.: The Office of the U.S. Trade Representative, 1995. https://ustr.gov/sites/default/files/1995%20Special%20301%20Report.pdf.

Verstappen, Nicolas. Thai Comics in the Twenty-First Century: Identity and Diversity of a New Generation of Thai Cartoonists. Bangkok: Chulalongkorn University, 2017. https://www.commarts.chula.ac.th/upload//2019/05/ThaiComicinthe21stCentury.pdf.

Verstappen, Nicolas. The Early Days of Siamese and Thai Comics Art: Local and Transnational Development of the Art Form from 1906 to 1958. Bangkok: Chulalongkorn University, https://www.commarts.chula.ac.th/upload/2019/09/The%20Early%20Days%20of%20Siamese%20and%20Thai%20Comics%20Art_Nicolas%20Verstappen.pdf.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

THAI SUPER HERO CHANNEL. “รายการ THAI SUPERHERO ตอน อาจารย์ ไพบูลย์ วงศรี ตำนานนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยคนแรก.” (วิดีโอ). 20 กุมภาพันธ์ 2560. https://www.youtube.com/watch?v=-UQ4IujErUg.